วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

การคืนความเป็นธรรมให้กับประชาชนกรณีที่ ดิน และ ทรัพยากร


การคืนความเป็นธรรมให้กับประชาชนกรณีที่ดินและทรัพยากร หน้า ๑/
เอกสารหลัก
สมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑
ระเบียบวาระที่ ๓ -     ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

การคืนความเป็นธรรมให้กับประชาชนกรณีที่ดินและทรัพยากร

สถานการณ์การปฏิรูปที่ดินในประเทศไทย
. แม้ว่าประเทศไทยจะมีความพยายามในการปฏิรูปที่ดินมาหลายครั้ง นับตั้งแต่การมีโฉนดที่ดินครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๕ การออกกฎหมายจำกัดการถือครองที่ดินในปี พ.. ๒๔๙๗ รวมไปถึงการมีพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร พ.. ๒๕๑๘ อย่างไรก็ตาม การกระจายการถือครองที่ดินในประเทศไทยยังคงมีความเหลื่อมลํ้า และไม่เท่าเทียมกัน ประชาชนจำนวนมากไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง จากตัวเลขการขึ้นทะเบียนคนจนทั่วประเทศของศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะคามยากจนแห่งชาติ (ศตจ.) ในปี พ.. ๒๕๔๗ พบว่า มีคนจนและเกษตรกรรายย่อย มาขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับความช่วยเหลือด้านที่ดินกว่า ๔ ล้านคน (ใช้เกณฑ์รายได้ตํ่ากว่า ๒๐,๐๐๐ บาทต่อปี) และยืนยันต้องการความช่วยเหลือ จำนวน ๒,๒๑๗,๕๔๖ ราย จำแนกเป็น ไม่มีที่ดินทำกิน จำนวน ๘๘๙,๐๒๒ ราย มีที่ดินทำกินแต่ไม่เพียงพอ จำนวน ๕๑๗,๒๖๓ ราย มีที่ดินแต่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ๘๑๑,๒๗๙ ราย
. นอกเหนือจากปัญหาการเข้าไม่ถึงการใช้ทรัพยากร และการขาดแคลนที่ดินแล้ว การปฏิรูปที่ดินที่ไม่ประสบความสำเร็จของประเทศไทย ยังก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวเนื่องกับเรื่องของที่ดินอีกมากมายไม่ว่าจะเป็น ความขัดแย้งเรื่องแนวเขตที่ดินระหว่างหน่วยงานของรัฐ และประชาชน ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ (สบร.) ที่ทำการสำรวจในปี ๒๕๔๑ พบจำนวนผู้บุกรุกทำประโยชน์ในที่ดินของรัฐถึง ๑,๑๔๗,๘๒๓ ราย ในพื้นที่ ๒๑ ล้านไร่i โดยในหลายกรณีเป็นการออกเอกสารสิทธิ์ทับซ้อนทิ่ดินที่ชาวบ้านอยู่มาแต่เดิม
. ปัญหาการกระจุกตัวของการถือครองที่ดินและการไม่ทำประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการคลังพบว่า ประชาชนทั่วประเทศถึง ๙๐ เปอร์เซนต์ ถือครองที่ดินโดยเฉลี่ยน้อยกว่า ๑ ไร่ ส่วนประชาชนที่เหลือเพียง ๑๐ เปอร์เซนต์เท่านั้นที่ถือครองที่ดินมากกว่า ๑๐๐ ไร่ และที่น่าตกใจคือ ที่ดินกว่าร้อยละ ๗๐ ของประเทศไม่ได้ถูกนำมาใช้ หรือใช้ไม่คุ้มค่า ทำให้ประเทศสูญเสียรายได้ขั้นตํ่าปีละกว่า ๑๒๗,๓๘๔.๐๓ ล้านบาทii และรวมไปถึงปัญหาการสูญเสียพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการทำการเกษตร เป็นต้น
สมัชชาปฏิรูป ๑.หลัก ๓
สมัชชาปฏิรูป ๑.หลัก ๓ การคืนความเป็นธรรมให้กับประชาชนกรณีที่ดินและทรัพยากร หน้า ๒/
ปัญหาความเหลื่อมลํ้าในกระบวนการยุติธรรมกรณีที่ดินและทรัพยากร
. 0ขณะที่ประเทศไทยยังไม่สามารถกระจายการถือครองที่ดิน (Land Distribution) อย่างเป็นธรรมและทั่วถึงได้ กลับมีปัญหาใหญ่ที่เปรียบเสมือนระเบิดเวลาและกำลังทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น คือ ปัญหากระบวนการยุติธรรมกับคดีที่ดินที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ซึ่งเป็นปัญหาที่ซับซ้อน และแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ โดยขอยกตัวอย่างปัญหาเบื้องต้น ดังนี้
.๑ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ฟ้องขับไล่ชาวบ้านคอนสาร จังหวัดชัยภูมิจำนวน ๓๑ ราย ซึ่งกำลังจะมีการบังคับคดี ให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่เดือนกุมภาพันธ์ปี ๒๕๕๔ ทั้งๆ ที่ชาวบ้านมี สค.๑ มีใบจ่ายภาษีที่ดินมาตั้งแต่ปี พ.. ๒๔๙๔ ซึ่งศาลชี้แจงว่าเอกสารเหล่านี้ไม่มีนํ้าหนักพอ และมีคำสั่งให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่ภายใน ๓๐ วัน
.๒ คดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ ฟ้องชาวบ้าน จังหวัดเพชรบูรณ์ ชัยภูมิ และตรัง ข้อหาทำให้โลกร้อน ๓๔ ราย โดยคิดค่าเสียหายไร่ล่ะ ๑๕๐,๐๐๐ บาท
.๓ คดีนายทุนสวนปาล์มฟ้องชาวบ้าน จ.สุราษฎร์ธานี ๒๗ ราย ข้อหาบุกรุก
.๔ คดีนายทุนออกเอกสารสิทธิ์ไม่ชอบและปล่อยทิ้งร้าง ฟ้องชาวบ้าน จ.ลำพูนและเชียงใหม่ ๑๒๘ ราย ในข้อหาบุกรุกiii และมีการสั่งจำคุกไปแล้ว ๑๙ ราย
. การสำรวจเบื้องต้นจากกรมราชทัณฑ์พบว่า มีคดีความที่เกี่ยวข้องกับความเดือดร้อนของประชาชนยากไร้ในกรณีที่ดินกว่า ๑๙๑ คดี อีกทั้ง จากงานศึกษาของศยามล และคณะ (๒๕๔๙) โดยทำการสุ่มสำรวจพื้นที่ปัญหา ๖๘ จังหวัดทั่วประเทศพบปัญหาข้อพิพาทระหว่างรัฐกับชาวบ้านในเรื่องแนวเขตที่ดินกว่า ๗๔๐ กรณี นอกจากนี้ยังมีข้อมูลจากเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทยiv ว่า มีผู้ถูกดำเนินคดีในกระบวนการยุติธรรม ๓๖๑ ราย จำนวน ๑๔๓ คดี เป็นคดีแพ่ง ๑๔๐ ราย ๘๗ คดี คดีอาญา ๒๒๑ ราย ๕๖ คดี
. และเมื่อชาวบ้านต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมนั้น มีขั้นตอนการปฏิบัติหลายขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นสืบสวนสอบสวน จนมาถึงกระบวนการของศาล ซึ่งประชาชนจำนวนมากที่มีฐานะยากจน เมื่อต้องขึ้นศาลทำให้มีความลำบากมากในเรื่องของค่าใช้จ่าย ยกตัวอย่างเช่น ในขั้นตอนกระบวนการพิจารณาคดีนั้น ถ้าจำเลยไม่มีเงินประกันตัว หรือไม่มีเงินค่าวางศาลนั้น จำเป็นต้องอยู่ในเรือนจำระหว่างที่พิจารณาคดี ซึ่งตามกฎหมายนั้นยังไม่ถือว่าจำเลยมีความผิด แต่ต้องเข้าไปอยู่ในเรือนจำเพราะไม่มีเงินคํ้าประกัน ซึ่งมีประชาชนหลายหมื่นคนได้รับผลกระทบนี้
แนวทางการแก้ไขความเดือดร้อนอย่างเร่งด่วน
. คดีที่ศาลพิจารณาถึงที่สุดแล้ว ให้มีการพักโทษ ลดโทษ และคุมประพฤติ นอกจากนี้ให้ระงับและทบทวนการคิดค่าเสียหายในกรณีคดีโลกร้อน
สมัชชาปฏิรูป ๑.หลัก ๓ การคืนความเป็นธรรมให้กับประชาชนกรณีที่ดินและทรัพยากร หน้า ๓/
. คดีที่ดินที่อยู่ระหว่างการพิจารณา ให้มีการจำหน่ายคดีชั่วคราว อนุญาตให้ประชาชนผู้ต้องหาและครอบครัวอยู่อาศัยทำกินในที่ดินเดิม โดยในระยะเร่งด่วนขอให้สามารถใช้ตัวบุคคลหรือตัวกองทุนยุติธรรมในการคํ้าประกันตัวแทนหลักทรัพย์ รวมทั้งเน้นการพิจารณาพฤติกรรมของผู้ต้องหาแทนการใช้หลักทรัพย์คํ้าประกัน
. กรณีปัญหาที่ยังไม่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ให้ระงับการดำเนินการใดๆ ที่เป็นการเพิ่มความเดือดร้อนและความรุนแรงกับคนจน โดยขอให้ระงับการขยายพื้นที่อนุรักษ์ ระงับการจับกุมประชาชนที่ทำกินอยู่ในพื้นที่ขัดแย้งเดิมที่ไม่ใช่การถางป่าใหม่
แนวทางการปรับปรุงการแก้ไขปัญหาในระยะกลาง
๑๐. การแก้ไขปัญหาความความไม่เป็นธรรมในกรณีที่ดินนั้นจำเป็นที่ต้องแก้ไขข้อกฎหมายหลายข้อในระยะยาว อีกทั้งต้องอาศัยแรงผลักดันจากทั้งภาคประชาชน ผู้เสียหาย และความจริงใจของภาครัฐ อย่างไรก็ตามปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนไม่สามารถที่จะผลัดวันประกันพรุ่งได้ ฉะนั้นการช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนจากความไม่เป็นธรรมในเบื้องต้นนั้นจึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจมองข้าม ซึ่งในปัจจุบันถ้าต้องการอาศัยเครื่องมือทางกฎหมายในการช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนในกรณีที่ดินและทรัพยากรนั้น ทางกระทรวงยุติธรรมมีเครื่องมือในการให้ความช่วยเหลืออยู่ ๒ อย่างคือ ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยกองทุนยุติธรรม และ พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ
๑๑. ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยกองทุนยุติธรรม พ..๒๕๕๓ มีวัตถุประสงค์สำคัญในเรื่องการให้ความช่วยเหลือในเรื่องค่าใช้จ่ายเบื้องต้นกับประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการต่อสู้คดี โดยให้ความช่วยเหลือในด้านหลักๆ เช่น สนับสนุนวางเงินประกันการปล่อยตัวชั่วคราว, สนับสนุนค่าใช้จ่ายจ้างทนายความในคดีอาญา คดีแพ่ง คดีปกครอง หรือการบังคับคดี, สนับสนุนชำระค่าธรรมเนียมขึ้นศาลในคดีแพ่ง และคดีปกครอง, สนับสนุนการพิสูจน์ ค่าวัสดุ อุปกรณ์ ค่ารังวัดที่ดิน ค่าภาพถ่ายทางอากาศ, สนับสนุนค่าเดินทาง ที่พัก ค่าตอบแทน, สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการคุ้มครอง ให้ได้รับความปลอดภัยจากการปองร้าย และสนับสนุนค่าความเสียหายจากการถูกละเมิด หรือการกระทำโดยมิชอบทางปกครอง (ในลักษณะกลุ่ม) เป็นต้น
๑๒. แม้ว่ากองทุนยุติธรรมนี้จะให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นได้เป็นอย่างดี แต่การที่กองทุนยุติธรรมเป็นเพียงระเบียบกระทรวงทำให้มีข้อจำกัดในเรื่องของงบประมาณในการช่วยเหลือ ปัญหาการเข้าถึงกองทุนที่ทุกเรื่องร้องเรียนต้องส่งเข้ามาพิจารณาจากคณะกรรมการที่กรุงเทพฯ ก่อเกิดความล่าช้า ทำให้กระทรวงยุติธรรม และภาคีเครือข่ายภาคประชาชนมีแนวคิดที่จะผลักดันระเบียบกองทุนยุติธรรมให้เป็นพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม โดยมีรายละเอียดเบื้องต้น ดังนี้
จัดตั้งเป็นองค์กรอิสระ
รายได้ตั้งต้นมาจากรัฐ และ เงินค่าปรับแบบ Day Finevเพื่อสมทบเข้ากองทุน
สมัชชาปฏิรูป ๑.หลัก ๓ การคืนความเป็นธรรมให้กับประชาชนกรณีที่ดินและทรัพยากร หน้า ๔/
ใช้ตัวกองทุนเป็นหลักทรัพย์คํ้าประกันผู้ต้องหาที่ยากจนและไม่ได้รับความเป็นธรรมระหว่างถูกดำเนินคดี แทนการใช้ตัวเงินเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของกองทุน
เรื่องหลักทรัพย์คํ้าประกันอาจจะใช้หลักคิดที่ว่า ถ้าผู้ถูกกล่าวหาไม่มีแนวโน้มคิดหนี, ไม่มีแนวโน้มทำลายหลักฐานและไม่มีแนวโน้มไปทำผิดคดีอื่น เป็นต้น แทนการใช้เงินหรือหลักทรัพย์คํ้าประกันอันเป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของกองทุน อีกทั้งผู้ถูกกล่าวหายังสามารถที่จะประกอบอาชีพเพื่อยังชีพแทนที่จะต้องเข้าไปอยู่ในเรือนจำเพราะไม่มีหลักทรัพย์คํ้าประกัน
เพื่อไม่ให้การช่วยเหลือเป็นการซํ้าซ้อน ในร่าง พระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม ให้ตัดส่วนที่กฎหมายอื่น ๆ ให้ความช่วยเหลืออยู่แล้ว ออกจากค่าใช้จ่ายของกองทุนยุติธรรม เช่น ในระเบียบกองทุนยุติธรรม ๒๕๕๓ ข้อ ๖. () กับ () ควรตัดทิ้งไป
เพิ่มเติมคำว่า ถ้ามี กม.ใดช่วยเหลือเป็นการเฉพาะ ให้ไปรับการช่วยเหลือจาก กม.นั้น” (เนื่องจากมีกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องเรื่องการช่วยเหลือ/เยียวยาผู้เสียหายเป็นการเฉพาะแล้วแต่กรณีจำนวนมาก)
๑๓. พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในดคีอาญา พ..๒๕๔๔ เกิดจากมาตรา ๒๔๕-๒๔๖ ตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้ความช่วยเหลือเจาะจงเฉพาะคดีอาญา โดยมองว่า ผู้เสียหายคือ เหยื่ออาชญากรรม จำเลยหรือแพะ คือผู้บริสุทธิ์ในคดีอาญา โดยสาระสำคัญของการให้ความช่วยเหลือตาม พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ คือ
จะช่วยเหลือ/เยียวยาเหยื่ออาชญากรรม : กรณีที่ไม่ได้จากเงินอื่น ๆ เช่น จำเลยที่ถูกต้องขังโดยบริสุทธิ์ เช่น ถูกกักขังกี่วัน ก็ชดเชยให้ตามนั้น
รัฐจ่ายให้ผู้เสียหายไปก่อน และจะไปปรับหรือเรียกเก็บจากจำเลย หรือคนที่ทำผิดต่อไป
เป็นดุลยพินิจของคณะกรรมการในการให้ความช่วยเหลือ เช่น เรื่องการดูแลค่ารักษาพยาบาล
๑๔. ปัญหาของ พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ นี้เป็นปัญหาเดียวกับปัญหาของกองทุนยุติธรรม กล่าวคือ งบประมาณไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงมีแนวคิดที่ปรับปรุงกฎหมายนี้เพื่อหาช่องทางให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น เช่น นำรายได้จากเบี้ยประกันทุกชนิดร้อยละ ๓.๓ มาเป็นส่วนหนึ่งของรายได้ (ตามแบบประเทศฝรั่งเศส) หรือปรับแก้พระราชบัญญัตินี้ให้มีอำนาจแบบนิติบุคคลซึ่งจะสามารถไปฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทำให้เกิดความเสียหาย เป็นต้น
การปฏิรูปกลไกการทำงานในกระบวนการยุติธรรม
๑๕. อย่างไรก็ตามการปรับแก้ไขระเบียบกระทรวงว่าด้วยกองทุนยุติธรรม และพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ เป็นเพียงการบรรเทาทุกข์ให้กับชาวบ้านที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมที่ปลายทาง ฉะนั้น ทางกระทรวงยุติธรรมเอง รวมไปถึงสถาบันการศึกษาและวิจัยต่างๆ เช่นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย ฯลฯ ได้มีแนวความคิดที่จะปฏิรูป
สมัชชาปฏิรูป ๑.หลัก ๓ การคืนความเป็นธรรมให้กับประชาชนกรณีที่ดินและทรัพยากร หน้า ๕/
กลไกการทำงานในกระบวนการยุติธรรม ยกตัวอย่าง เช่น ให้กระทรวงยุติธรรมส่งเสริมให้เกิดการปรับหลักคิด การทำงานของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม และข้าราชการทุกกระทรวงให้ยึดถือและสอดคล้องตามหลักรัฐธรรมนูญ พ.. ๒๕๕๐
๑๖. ให้กระทรวงยุติธรรมส่งเสริมให้เกิดการนำกระบวนการวิธีพิจารณาคดีที่หลากหลายที่ไม่ใช่การกล่าวหามาใช้ เช่น การใช้ระบบไต่สวน การเดินเผชิญสืบของผู้พิพากษา การพิจารณาจากหลักฐานบุคคลหรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น การใช้กระบวนการยุติธรรมชุมชน หรือจัดตั้งศาลเฉพาะที่ชำนาญการในข้อพิพาทคดีที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน และทรัพยากร โดยกระตุ้นให้กลไกต่างๆ ที่มีอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการพิจารณาคดีทำงานอย่างมีประสิทธิภาพบนฐานความเป็นธรรม
๑๗. อีกทั้งยังมีแนวคิดที่จะให้กระทรวงยุติธรรม และภาคีเครือข่ายภาคประชาชน ตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อรวบรวมคดีทั้งหมดเพื่อจำแนกว่าอยู่ในขั้นใด พร้อมวางมาตรการช่วยเหลือและทางออกในกรอบของกฎหมาย นอกจากนี้ทางรัฐบาลยังตั้งคณะทำงานต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิ์ที่ออกโดยมิชอบ มีคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่พิพาท พร้อมทั้งยังได้มีการสนับสนุนแนวทางยุติธรรมชุมชน หรือสมานฉันท์ชุมชน
๑๘. นอกเหนือจากการปฏิรูปกลไกกระบวนการยุติธรรมข้างต้นแล้ว ยังมีข้อกฎหมายรวมถึงหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงคมนาคม (ที่การรถไฟ), กระทรวงการคลัง (ที่ราชพัสดุ), กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกฎหมายที่ภาคประชาชนเรียกร้องให้มีการแก้ไขเพื่อสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมลํ้านั้น ได้แก่ พระราชบัญญัติป่าไม้ (๒๔๘๔), พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ (๒๕๐๔), พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (๒๕๐๗) ซึ่งเป็นกฎหมายที่หน่วยงานราชการใช้ฟ้องคดีทางอาญากับชาวบ้านผู้ยากไร้ อีกทั้ง พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อมฯ (๒๕๓๕) มาตรา ๙๗ ที่เป็นการฟ้องทางแพ่งแก่ชาวบ้าน หรือที่ภาคประชาสังคมเรียกว่า คดีโลกร้อน โดยเรียกเก็บค่าเสียหายเป็นจำนวน ๑๕๐,๐๐๐ บาทต่อไร่
๑๙. การจะแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมลํ้าที่เกี่ยวข้องกับที่ดินและทรัพยากรนั้นจะไม่สามารถสำเร็จลุล่วงไปได้เลย ถ้าไม่มีการดำเนินการควบคู่ไปกับการปฏิรูปที่ดิน (Land Reform) เพื่อกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม โดยต้องคำนึงถึงเครื่องมือและการปรับแก้ไขกฎหมายต่าง ๆ อีกมาก ไม่ว่าจะเป็น การผลักดันให้เกิด พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, พระราชบัญญัติโฉนดชุมชน, ธนาคารที่ดิน, การเก็บภาษีมรดก และรวมไปถึงการแก้ไขกฎหมายการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ..๒๕๒๔ ซึ่งเป็นผลให้เจ้าของที่ดินไม่อยากให้เช่าที่ดินกับเกษตรกร และปล่อยที่ดินทิ้งร้างเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้จึงต้องอาศัยการผลักดันจากภาคประชาสังคม ความจริงใจในการแก้ปัญหาของรัฐบาล และรวมถึงความร่วมมือของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาอย่างเป็นองค์รวมและมีประสิทธิภาพ

สมัชชาปฏิรูป ๑.หลัก ๓ การคืนความเป็นธรรมให้กับประชาชนกรณีที่ดินและทรัพยากร หน้า ๖/__

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น