วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2554

ฤ ประเทศไทยจะเสียดินแดนถาวร?????

หลังจากเครือข่ายภาคประชาชน ส่วนหนึ่งได้ร่วมลงพื้นที่ ชายแดน ไทย-เขมร  เมื่อเร็วๆนี้สรุปคือ
   - หวังว่า เอกสารฉบับนี้จะทำให้ประชาชนคนไทยตื่นจากความฝันที่ประเทศไทยกำลังจะสูญเสียดินแดนอีกแล้ว นับตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อกว่าร้อยปีที่แล้ว ประเทศของเราไม่เคยตกอยู่ในสภาพย่ำแย่แบบนี้เลย ในฐานะที่ผมเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมาธิการร่วมพิจารณาบันทึกการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ๓ ฉบับ หรือที่ต่อแต่นี้ไปจะเรียกอย่างสั้นๆ ว่า JBC ๓ ฉบับ ผมได้ใช้เวลาในการศึกษารายงานการประชุม JBC ทั้ง ๓ ฉบับแล้วพบว่า ประเทศชาติอันเป็นที่รักของเรากำลังจะสูญเสียดินแดนครั้งสำคัญในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เป็นการสูญเสียดินแดนที่เกิดจากความบกพร่องและความไม่เข้าใจของนักการเมืองและรัฐบาลหลายต่อหลายรัฐบาล ความเข้าใจที่สับสนว่า
. พรมแดนไทยกัมพูชายังมิได้ปักปันเขตแดนแต่ประการใด ทั้งๆ ที่สยามกับฝรั่งเศสได้ปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา เสร็จสิ้นทั้งหมดมากว่าร้อยปีแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบริเวณเขาพระวิหาร สยามกับฝรั่งเศสได้ตกลงกันให้ใช้ขอบหน้าผา เป็นสันปันน้ำและเป็นเส้นเขตแดนตามธรรมชาติ ซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จึงไม่ต้องมีการทำหลักเขตแดนใดๆ ทั้งสิ้น และ ไม่ต้องปักปันใหม่แล้ว
. เป็นความเข้าใจผิดอย่างร้ายกาจที่คิดว่าแผนที่ ๑:๒๐๐๐๐๐ เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีน ทั้งๆ ที่แผนที่ชุดดังกล่าวมีความไม่สมบูรณ์และเป็นแผนที่เก๊ทุกระวาง (คือมิได้นำแผนที่เข้าสู่ที่ประชุมของคณะกรรมการผสม และประธานของทั้งสองฝ่ายมิได้ลงนามรับรอง)
หลายคนอาจได้ยินคำว่า MOU ๔๓ ซึ่งก็คือ บันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ซึ่งเป็น MOU ที่มิได้ผ่านรัฐสภา อันขัดต่อบทบัญญัติมาตรา ๒๒๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ..๒๕๔๐ และมิได้ผ่านขั้นตอนของการเสนอเรื่องตามลำดับขั้น โดยเฉพาะไม่ได้นำเสนอผ่านที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
MOU ๔๓ จึงเป็นบันทึกความเข้าใจฯ เถื่อน และใช้แผนที่ ๑:๒๐๐๐๐๐ เก๊ทุกระวาง แต่ความดื้อดึงและการหวังประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องอย่างหน้ามืดตามัวย่อมส่งผลให้ประเทศไทยต้องยอมรับแผนที่มาตราส่วน ๑:๒๐๐๐๐๐ ซึ่งมีข้อผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศมาใช้ประกอบการพิจารณาในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกเสียใหม่ ทั้งๆ ที่ได้มีการจัดทำหลักเขตแดนเสร็จสิ้นไปแล้ว และแน่นอนที่สุดว่า คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ก็ยอมรับเงื่อนไขของแผนที่มาตราส่วน ๑:๒๐๐๐๐๐ ที่จะนำมาประกอบการพิจารณาเช่นกัน
ตัว MOU ๔๓ แม้มิได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก หากแต่ MOU ๔๓ เป็นที่มาของข้อกำหนดตามแผนแม่บทอำนาจหน้าที่ ซึ่งเราเรียกว่า TOR ๔๖ แผนที่มาตราส่วน ๑:๒๐๐๐๐๐ จึงถูกนำมาใช้ประกอบการพิจารณาในระดับปฏิบัติการ
ภาคสนาม ซึ่งส่งผลให้เขตแดนของทั้งสองประเทศเกิดการอ้างสิทธิ์ของแต่ละฝ่าย โดยเฉพาะฝ่ายไทยต้องสูญเสียดินแดนทางพฤตินัยจากฝ่ายกัมพูชาเป็นจำนวนมาก และแน่นอนว่า ย่อมเกี่ยวข้องกับบันทึกรายงานการประชุมทั้ง ๓ ฉบับของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชาอย่างไม่ต้องสงสัย
ในรายงานเอกสาร เรื่องผลการประชุมคณะกรรมธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (Joint Boundary Commission - JBC) ที่จะนำเข้าสู่การประชุมของรัฐสภา เพื่อให้ที่ประชุมมีมติเห็นชอบบันทึกการประชุม ๓ ฉบับ อันได้แก่
. บันทึกการประชุม JBC สมัยวิสามัญที่เมืองเสียมราฐ เมื่อวันที่ ๑๐-๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
. บันทึกการประชุม JBC ครั้งที่ ๔ ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๓-๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
. บันทึกการประชุม JBC สมัยวิสามัญที่กรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ ๖-๗ เมษายน ๒๕๕๒
ข้อวิเคราะห์
. ที่มาของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา เกิดจากบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ลงนาม ณ กรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๓ (..๒๐๐๐ หรือ MOU ๔๓/๒๐๐๐) ซึ่งมีความเห็นว่า ตัวบันทึกความเข้าใจฯดังกล่าว ยังไม่ผ่านขั้นตอนของรัฐสภาและบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๒๒๔ ที่มาที่ไปของคณะกรรมาธิการฯ ชุดนี้จึงมิชอบ ดังนั้น เมื่อนำบันทึกรายงานการประชุมเข้ามาพิจารณา จึงไม่ชอบด้วยกฏหมาย
. เมื่อได้ศึกษารายงานเอกสารดังกล่าวนี้โดยละเอียดแล้วพบว่า บันทึกการประชุมทั้ง ๓ ฉบับมีเนื้อหาสาระสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดน โดยเฉพาะเขตพื้นที่ประกาศกฤษฎีกาอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ซึ่งครอบคลุมเนื้อที่บริเวณ ๔.๖ ตารางกิโลเมตร และอาจทำให้ข้อสงวนสิทธิ์ที่เคยมีมา กรณีปราสาทพระวิหารภายหลังการตัดสินของศาลโลก (ซึ่งไทยได้ไปตั้งข้อสงวนสิทธิ์ที่จะเรียกคืนตัวปราสาท หากมีการค้นพบหลักฐานหรือข้อมูลทางวิชาการใหม่)และอาจเป็นไปได้ว่า เราจะไม่สามารถเรียกคืนตัวปราสาทกลับมาเป็นของไทยได้อีกเลย หากปล่อยให้กัมพูชาเข้ายึดครองพื้นที่ และนำไปเป็นส่วนหนึ่งของแผนบริหารการจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหาร
. เฉพาะบันทึกฉบับที่ ๒ และฉบับที่ ๓ ซึ่งมีการแนบ ร่างข้อตกลงชั่วคราว ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชากับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยว่าด้วยเรื่องปัญหาชายแดนในพื้นที่ (ไทย - ปราสาทพระวิหาร, กัมพูชา - ปราสาทเปรียะวีเฮียร์) ซึ่งในเบื้องต้นสามารถมองเห็นได้ว่า มีการหารือเรื่องร่างข้อตกลง ซึ่งได้รับการบรรจุอยู่ในระเบียบวาระ เรื่องพิจารณา (ในภาคผนวก ๕ หน้า ๑๐๒) เท่ากับว่าฝ่ายไทยเห็นด้วยว่าในพื้นที่อาณาบริเวณดังกล่าวไม่ใช่เป็นของฝ่ายไทยหรือแผ่นดินไทยแต่ฝ่ายเดียว หากแต่เป็นดินแดนที่พิพาท (ทั้ง ที่ภายหลังคำตัดสินของศาลโลก ฝ่ายไทย ยังยืนยันความเป็นเจ้าของมีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนในอาณาบริเวณนี้ ยกเว้นตัวปราสาทที่ต้องปฏิบัติตามคำตัดสินศาลโลก ส่วนพื้นที่พิพาทฝ่ายไทยยืนยันว่าเป็นพื้นดินที่รองรับตัวปราสาท และยังมีหลักฐานจากบทสัมภาษณ์ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และการเสด็จพระราชดำเนินของกษัตริย์ นโรดม สีหนุ ที่นำคณะรัฐบาล บุคคลสำคัญชาวกัมพูชา ประชาชน และสื่อมวลชนขึ้นมาชักธงกัมพูชาขึ้นสู่เสาในตัวปราสาทพระวิหาร) อีกประการหนึ่งคณะกรรมการ มรดกโลกและยูเนสโกต่างเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีกลไกของ JBC และร่างข้อตกลงชั่วคราวฯ ดังกล่าว เพื่อให้การขึ้นทะเบียนมรดกโลกปราสาทพระวิหารของกัมพูชามีความสมบูรณ์ จึงออกเป็นมติไว้ในการประชุมครั้งที่ ๓๓ ทั้งๆ ที่ คณะกรรมการมรดกโลกและยูเนสโกไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการปักปันเขตแดนของทั้งสองประเทศ รวมไปถึงการชักชวนให้ไทย ซึ่งรู้ว่ากำลังมีปัญหาเรื่องเขตแดนนี้ เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วน ๑ ใน๗ ชาติเพื่อพัฒนาพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหาร
การเกริ่นนำของกองเขตแดน กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ จึงปรากฏถ้อยคำที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นอันตรายคือ การแนบร่างข้อตกลงชั่วคราวฯ ล่าสุดไว้ในบันทึกการประชุม JBC สมัยวิสามัญที่กรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ ๖-๗ เมษายน ๒๕๕๒ (หน้า ๑) ซึ่งเป็นร่างข้อตกลงที่เป็นอันตรายและสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดน และอาจนำไปสู่ปัญหาที่ยุ่งยากต่อการสำรวจและตรวจสอบหลักเขตแดนที่ได้กระทำไปเรียบร้อยจบสิ้นแล้ว โดยเฉพาะบริเวณปราสาทพระวิหารและแนวเขตแดนจากช่องบกมาจนถึงช่องสะงำซึ่งได้ดำเนินการปักปันไปแล้วกว่า ๑๐๐ ปีที่ผ่านมาภายใต้พื้นฐานสนธิสัญญาฉบับ ค.. ๑๙๐๔ โดยคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีนชุดที่ ๑
. การเกริ่นนำของกองเขตแดนในข้อที่ ๕ ซึ่งเป็นการรายงานความคืบหน้าเพิ่มเติมในหลายประเด็นซึ่งมีทั้งหมด ๗ ข้อ ข้อที่น่าจะเป็นอันตรายในระดับต้นๆ คือ ข้อที่ ๕., .๔ และ ๕. (หน้า ๒) กล่าวคือ ในข้อที่ ๕.๓และ๕.๔ เป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับเรื่องพื้นที่ที่กัมพูชาจะนำไปขึ้นทะเบียนโดยสมบูรณ์ (คือบริเวณบางส่วนระหว่างหลักเขตที่ ๑ ถึง เขาสัตตโสม) ซึ่งโดยหลักการแล้วควรมีหลักเขตแดนให้แน่ชัดเสียก่อน โดยการไปส��ำรวจแนวของสันปันน้ำที่เคยปักปันไปแล้วตามสนธิสัญญา ค..๑๙๐๔ และรายงานการประชุมของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-ฝรั่งเศส ชุดที่ ๑ ซึ่งถ้าฝ่ายไทยยืนยันตามหลักฐานเอกสารที่ถูกต้อง ทำไมจึงต้องไปเริ่มต้นกันใหม่
ในข้อที่ ๕.๖ เรื่องความเห็นชอบให้มีการประชุม JBC สมัยวิสามัญเพื่อหารือประเด็นกฎหมายเกี่ยวกับพื้นที่สำรวจตอนที่ ๖ (หน้า ๒) ซึ่งในแง่ของนักวิชาการ ภาคประชาชน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของกระทรวงการต่างประเทศและตัวประธาน JBC ของไทยยังมีความเห็นแย้งกันอยู่มากและหลายประเด็น โดยเฉพาะการตีความคำพิพากษาที่เห็นตรงกันข้าม การอ่านบันทึกวาจา หรือแม้แต่ทัศนคติที่เลือกข้าง ดังจะเห็นได้จากการที่ประธาน JBC ฝ่ายไทยไปให้คำชี้แจงในวาระต่างๆ ทั้งๆ ที่คณะกรรมาธิการทั้งสภาผู้แทนราฎรและวุฒิสภา มีทัศนคติที่เห็นด้วยกับฝ่ายกัมพูชาและการตีความคำตัดสินของศาลโลกเข้าข้างฝ่ายกัมพูชา โดยขาดรากฐานความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาต่อกรณีปราสาทพระวิหาร ด้วยเหตุนี้ จึงควรนำประเด็นดังกล่าวมาร่วมปรึกษาหารืออย่างกว้างขวาง ก่อนจะดำเนินการเจรจา
. การศึกษาของคณะกรรมาธิการฯ ยังไม่สามารถสรุป หรือลงมติใดๆ ได้ เพราะเอกสารที่ใช้ในการประกอบการศึกษาและการตัดสินใจยังไม่เพียงพอ เอกสารสำคัญๆ เมื่อร้องขอไปแล้วยังไม่ได้รับการตอบสนองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการต่างประเทศ กรมแผนที่ทหาร ทั้งๆ ที่มีตัวแทนเข้ามานั่งประชุมอยู่ด้วยทุกครั้ง ถือเป็นการบังคับให้ต้องลงมติโดยปราศจากข้อมูล
. เนื้อหาในบันทึกการประชุมมีเนื้อหาที่บ่งชี้ว่า ฝ่ายไทยเสียเปรียบฝ่ายกัมพูชาหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการย้ายพื้นที่มาดำเนินการในพื้นที่ตอนที่ ๖ ก่อน หรือแม้กระทั่งคำปราศรัยของนายวาร์ คิม ฮอง ประธานกรรมาธิการเขตแดนฯฝ่ายกัมพูชา ที่กล่าวว่าไทยได้ส่งกองกำลังทหารรุกล้ำเข้าไปยังดินแดนของกัมพูชา บริเวณปราสาทพระวิหาร ปราสาทตาควาย และปราสาทตาเมือนธม
ดังนั้น การพิจารณาของรัฐสภาไทยเพื่อผ่านรายงานบันทึกการประชุม JBC ทั้ง ๓ ฉบับนี้ ย่อมทำให้ประเทศไทยสูญเสียดินแดนบริเวณปราสาทพระวิหาร ปราสาทตาควาย และปราสาทตาเมือนธม และถือเป็นการเริ่มต้นของการสูญเสียดินแดนครั้งใหม่ตลอดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา
---------------------------------------
ส่วนหนึ่งมาจาก
- เทพมนตรี ลิมปพยอม, มัฆวานรังสรรค์
๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔
ดำเนินกรจัดพิมพ์โดย กองทุนมูลนิธิยมเฝ้แผ่นดินเพื่อทวงคืนเขพระวิห
พิมพ์ที่ บริษัท กันต์รพีกรุ๊ฟ จำกัด ยวินัย แซ่ลี้ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น