วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

การคืนความเป็นธรรมให้กับประชาชนกรณีที่ ดิน และ ทรัพยากร


การคืนความเป็นธรรมให้กับประชาชนกรณีที่ดินและทรัพยากร หน้า ๑/
เอกสารหลัก
สมัชชาปฏิรูประดับชาติ ครั้งที่ ๑
ระเบียบวาระที่ ๓ -     ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔

การคืนความเป็นธรรมให้กับประชาชนกรณีที่ดินและทรัพยากร

สถานการณ์การปฏิรูปที่ดินในประเทศไทย
. แม้ว่าประเทศไทยจะมีความพยายามในการปฏิรูปที่ดินมาหลายครั้ง นับตั้งแต่การมีโฉนดที่ดินครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๕ การออกกฎหมายจำกัดการถือครองที่ดินในปี พ.. ๒๔๙๗ รวมไปถึงการมีพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร พ.. ๒๕๑๘ อย่างไรก็ตาม การกระจายการถือครองที่ดินในประเทศไทยยังคงมีความเหลื่อมลํ้า และไม่เท่าเทียมกัน ประชาชนจำนวนมากไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง จากตัวเลขการขึ้นทะเบียนคนจนทั่วประเทศของศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะคามยากจนแห่งชาติ (ศตจ.) ในปี พ.. ๒๕๔๗ พบว่า มีคนจนและเกษตรกรรายย่อย มาขึ้นทะเบียนเพื่อขอรับความช่วยเหลือด้านที่ดินกว่า ๔ ล้านคน (ใช้เกณฑ์รายได้ตํ่ากว่า ๒๐,๐๐๐ บาทต่อปี) และยืนยันต้องการความช่วยเหลือ จำนวน ๒,๒๑๗,๕๔๖ ราย จำแนกเป็น ไม่มีที่ดินทำกิน จำนวน ๘๘๙,๐๒๒ ราย มีที่ดินทำกินแต่ไม่เพียงพอ จำนวน ๕๑๗,๒๖๓ ราย มีที่ดินแต่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ๘๑๑,๒๗๙ ราย
. นอกเหนือจากปัญหาการเข้าไม่ถึงการใช้ทรัพยากร และการขาดแคลนที่ดินแล้ว การปฏิรูปที่ดินที่ไม่ประสบความสำเร็จของประเทศไทย ยังก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวเนื่องกับเรื่องของที่ดินอีกมากมายไม่ว่าจะเป็น ความขัดแย้งเรื่องแนวเขตที่ดินระหว่างหน่วยงานของรัฐ และประชาชน ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ (สบร.) ที่ทำการสำรวจในปี ๒๕๔๑ พบจำนวนผู้บุกรุกทำประโยชน์ในที่ดินของรัฐถึง ๑,๑๔๗,๘๒๓ ราย ในพื้นที่ ๒๑ ล้านไร่i โดยในหลายกรณีเป็นการออกเอกสารสิทธิ์ทับซ้อนทิ่ดินที่ชาวบ้านอยู่มาแต่เดิม
. ปัญหาการกระจุกตัวของการถือครองที่ดินและการไม่ทำประโยชน์ในที่ดิน ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานเศรษฐกิจการคลังพบว่า ประชาชนทั่วประเทศถึง ๙๐ เปอร์เซนต์ ถือครองที่ดินโดยเฉลี่ยน้อยกว่า ๑ ไร่ ส่วนประชาชนที่เหลือเพียง ๑๐ เปอร์เซนต์เท่านั้นที่ถือครองที่ดินมากกว่า ๑๐๐ ไร่ และที่น่าตกใจคือ ที่ดินกว่าร้อยละ ๗๐ ของประเทศไม่ได้ถูกนำมาใช้ หรือใช้ไม่คุ้มค่า ทำให้ประเทศสูญเสียรายได้ขั้นตํ่าปีละกว่า ๑๒๗,๓๘๔.๐๓ ล้านบาทii และรวมไปถึงปัญหาการสูญเสียพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการทำการเกษตร เป็นต้น
สมัชชาปฏิรูป ๑.หลัก ๓
สมัชชาปฏิรูป ๑.หลัก ๓ การคืนความเป็นธรรมให้กับประชาชนกรณีที่ดินและทรัพยากร หน้า ๒/
ปัญหาความเหลื่อมลํ้าในกระบวนการยุติธรรมกรณีที่ดินและทรัพยากร
. 0ขณะที่ประเทศไทยยังไม่สามารถกระจายการถือครองที่ดิน (Land Distribution) อย่างเป็นธรรมและทั่วถึงได้ กลับมีปัญหาใหญ่ที่เปรียบเสมือนระเบิดเวลาและกำลังทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น คือ ปัญหากระบวนการยุติธรรมกับคดีที่ดินที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ซึ่งเป็นปัญหาที่ซับซ้อน และแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ โดยขอยกตัวอย่างปัญหาเบื้องต้น ดังนี้
.๑ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ฟ้องขับไล่ชาวบ้านคอนสาร จังหวัดชัยภูมิจำนวน ๓๑ ราย ซึ่งกำลังจะมีการบังคับคดี ให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่เดือนกุมภาพันธ์ปี ๒๕๕๔ ทั้งๆ ที่ชาวบ้านมี สค.๑ มีใบจ่ายภาษีที่ดินมาตั้งแต่ปี พ.. ๒๔๙๔ ซึ่งศาลชี้แจงว่าเอกสารเหล่านี้ไม่มีนํ้าหนักพอ และมีคำสั่งให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่ภายใน ๓๐ วัน
.๒ คดีกรมอุทยานแห่งชาติฯ ฟ้องชาวบ้าน จังหวัดเพชรบูรณ์ ชัยภูมิ และตรัง ข้อหาทำให้โลกร้อน ๓๔ ราย โดยคิดค่าเสียหายไร่ล่ะ ๑๕๐,๐๐๐ บาท
.๓ คดีนายทุนสวนปาล์มฟ้องชาวบ้าน จ.สุราษฎร์ธานี ๒๗ ราย ข้อหาบุกรุก
.๔ คดีนายทุนออกเอกสารสิทธิ์ไม่ชอบและปล่อยทิ้งร้าง ฟ้องชาวบ้าน จ.ลำพูนและเชียงใหม่ ๑๒๘ ราย ในข้อหาบุกรุกiii และมีการสั่งจำคุกไปแล้ว ๑๙ ราย
. การสำรวจเบื้องต้นจากกรมราชทัณฑ์พบว่า มีคดีความที่เกี่ยวข้องกับความเดือดร้อนของประชาชนยากไร้ในกรณีที่ดินกว่า ๑๙๑ คดี อีกทั้ง จากงานศึกษาของศยามล และคณะ (๒๕๔๙) โดยทำการสุ่มสำรวจพื้นที่ปัญหา ๖๘ จังหวัดทั่วประเทศพบปัญหาข้อพิพาทระหว่างรัฐกับชาวบ้านในเรื่องแนวเขตที่ดินกว่า ๗๔๐ กรณี นอกจากนี้ยังมีข้อมูลจากเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทยiv ว่า มีผู้ถูกดำเนินคดีในกระบวนการยุติธรรม ๓๖๑ ราย จำนวน ๑๔๓ คดี เป็นคดีแพ่ง ๑๔๐ ราย ๘๗ คดี คดีอาญา ๒๒๑ ราย ๕๖ คดี
. และเมื่อชาวบ้านต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมนั้น มีขั้นตอนการปฏิบัติหลายขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นสืบสวนสอบสวน จนมาถึงกระบวนการของศาล ซึ่งประชาชนจำนวนมากที่มีฐานะยากจน เมื่อต้องขึ้นศาลทำให้มีความลำบากมากในเรื่องของค่าใช้จ่าย ยกตัวอย่างเช่น ในขั้นตอนกระบวนการพิจารณาคดีนั้น ถ้าจำเลยไม่มีเงินประกันตัว หรือไม่มีเงินค่าวางศาลนั้น จำเป็นต้องอยู่ในเรือนจำระหว่างที่พิจารณาคดี ซึ่งตามกฎหมายนั้นยังไม่ถือว่าจำเลยมีความผิด แต่ต้องเข้าไปอยู่ในเรือนจำเพราะไม่มีเงินคํ้าประกัน ซึ่งมีประชาชนหลายหมื่นคนได้รับผลกระทบนี้
แนวทางการแก้ไขความเดือดร้อนอย่างเร่งด่วน
. คดีที่ศาลพิจารณาถึงที่สุดแล้ว ให้มีการพักโทษ ลดโทษ และคุมประพฤติ นอกจากนี้ให้ระงับและทบทวนการคิดค่าเสียหายในกรณีคดีโลกร้อน
สมัชชาปฏิรูป ๑.หลัก ๓ การคืนความเป็นธรรมให้กับประชาชนกรณีที่ดินและทรัพยากร หน้า ๓/
. คดีที่ดินที่อยู่ระหว่างการพิจารณา ให้มีการจำหน่ายคดีชั่วคราว อนุญาตให้ประชาชนผู้ต้องหาและครอบครัวอยู่อาศัยทำกินในที่ดินเดิม โดยในระยะเร่งด่วนขอให้สามารถใช้ตัวบุคคลหรือตัวกองทุนยุติธรรมในการคํ้าประกันตัวแทนหลักทรัพย์ รวมทั้งเน้นการพิจารณาพฤติกรรมของผู้ต้องหาแทนการใช้หลักทรัพย์คํ้าประกัน
. กรณีปัญหาที่ยังไม่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ให้ระงับการดำเนินการใดๆ ที่เป็นการเพิ่มความเดือดร้อนและความรุนแรงกับคนจน โดยขอให้ระงับการขยายพื้นที่อนุรักษ์ ระงับการจับกุมประชาชนที่ทำกินอยู่ในพื้นที่ขัดแย้งเดิมที่ไม่ใช่การถางป่าใหม่
แนวทางการปรับปรุงการแก้ไขปัญหาในระยะกลาง
๑๐. การแก้ไขปัญหาความความไม่เป็นธรรมในกรณีที่ดินนั้นจำเป็นที่ต้องแก้ไขข้อกฎหมายหลายข้อในระยะยาว อีกทั้งต้องอาศัยแรงผลักดันจากทั้งภาคประชาชน ผู้เสียหาย และความจริงใจของภาครัฐ อย่างไรก็ตามปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนไม่สามารถที่จะผลัดวันประกันพรุ่งได้ ฉะนั้นการช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนจากความไม่เป็นธรรมในเบื้องต้นนั้นจึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจมองข้าม ซึ่งในปัจจุบันถ้าต้องการอาศัยเครื่องมือทางกฎหมายในการช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนในกรณีที่ดินและทรัพยากรนั้น ทางกระทรวงยุติธรรมมีเครื่องมือในการให้ความช่วยเหลืออยู่ ๒ อย่างคือ ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยกองทุนยุติธรรม และ พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ
๑๑. ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยกองทุนยุติธรรม พ..๒๕๕๓ มีวัตถุประสงค์สำคัญในเรื่องการให้ความช่วยเหลือในเรื่องค่าใช้จ่ายเบื้องต้นกับประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการต่อสู้คดี โดยให้ความช่วยเหลือในด้านหลักๆ เช่น สนับสนุนวางเงินประกันการปล่อยตัวชั่วคราว, สนับสนุนค่าใช้จ่ายจ้างทนายความในคดีอาญา คดีแพ่ง คดีปกครอง หรือการบังคับคดี, สนับสนุนชำระค่าธรรมเนียมขึ้นศาลในคดีแพ่ง และคดีปกครอง, สนับสนุนการพิสูจน์ ค่าวัสดุ อุปกรณ์ ค่ารังวัดที่ดิน ค่าภาพถ่ายทางอากาศ, สนับสนุนค่าเดินทาง ที่พัก ค่าตอบแทน, สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการคุ้มครอง ให้ได้รับความปลอดภัยจากการปองร้าย และสนับสนุนค่าความเสียหายจากการถูกละเมิด หรือการกระทำโดยมิชอบทางปกครอง (ในลักษณะกลุ่ม) เป็นต้น
๑๒. แม้ว่ากองทุนยุติธรรมนี้จะให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นได้เป็นอย่างดี แต่การที่กองทุนยุติธรรมเป็นเพียงระเบียบกระทรวงทำให้มีข้อจำกัดในเรื่องของงบประมาณในการช่วยเหลือ ปัญหาการเข้าถึงกองทุนที่ทุกเรื่องร้องเรียนต้องส่งเข้ามาพิจารณาจากคณะกรรมการที่กรุงเทพฯ ก่อเกิดความล่าช้า ทำให้กระทรวงยุติธรรม และภาคีเครือข่ายภาคประชาชนมีแนวคิดที่จะผลักดันระเบียบกองทุนยุติธรรมให้เป็นพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม โดยมีรายละเอียดเบื้องต้น ดังนี้
จัดตั้งเป็นองค์กรอิสระ
รายได้ตั้งต้นมาจากรัฐ และ เงินค่าปรับแบบ Day Finevเพื่อสมทบเข้ากองทุน
สมัชชาปฏิรูป ๑.หลัก ๓ การคืนความเป็นธรรมให้กับประชาชนกรณีที่ดินและทรัพยากร หน้า ๔/
ใช้ตัวกองทุนเป็นหลักทรัพย์คํ้าประกันผู้ต้องหาที่ยากจนและไม่ได้รับความเป็นธรรมระหว่างถูกดำเนินคดี แทนการใช้ตัวเงินเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของกองทุน
เรื่องหลักทรัพย์คํ้าประกันอาจจะใช้หลักคิดที่ว่า ถ้าผู้ถูกกล่าวหาไม่มีแนวโน้มคิดหนี, ไม่มีแนวโน้มทำลายหลักฐานและไม่มีแนวโน้มไปทำผิดคดีอื่น เป็นต้น แทนการใช้เงินหรือหลักทรัพย์คํ้าประกันอันเป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของกองทุน อีกทั้งผู้ถูกกล่าวหายังสามารถที่จะประกอบอาชีพเพื่อยังชีพแทนที่จะต้องเข้าไปอยู่ในเรือนจำเพราะไม่มีหลักทรัพย์คํ้าประกัน
เพื่อไม่ให้การช่วยเหลือเป็นการซํ้าซ้อน ในร่าง พระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม ให้ตัดส่วนที่กฎหมายอื่น ๆ ให้ความช่วยเหลืออยู่แล้ว ออกจากค่าใช้จ่ายของกองทุนยุติธรรม เช่น ในระเบียบกองทุนยุติธรรม ๒๕๕๓ ข้อ ๖. () กับ () ควรตัดทิ้งไป
เพิ่มเติมคำว่า ถ้ามี กม.ใดช่วยเหลือเป็นการเฉพาะ ให้ไปรับการช่วยเหลือจาก กม.นั้น” (เนื่องจากมีกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องเรื่องการช่วยเหลือ/เยียวยาผู้เสียหายเป็นการเฉพาะแล้วแต่กรณีจำนวนมาก)
๑๓. พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในดคีอาญา พ..๒๕๔๔ เกิดจากมาตรา ๒๔๕-๒๔๖ ตามรัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้ความช่วยเหลือเจาะจงเฉพาะคดีอาญา โดยมองว่า ผู้เสียหายคือ เหยื่ออาชญากรรม จำเลยหรือแพะ คือผู้บริสุทธิ์ในคดีอาญา โดยสาระสำคัญของการให้ความช่วยเหลือตาม พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ คือ
จะช่วยเหลือ/เยียวยาเหยื่ออาชญากรรม : กรณีที่ไม่ได้จากเงินอื่น ๆ เช่น จำเลยที่ถูกต้องขังโดยบริสุทธิ์ เช่น ถูกกักขังกี่วัน ก็ชดเชยให้ตามนั้น
รัฐจ่ายให้ผู้เสียหายไปก่อน และจะไปปรับหรือเรียกเก็บจากจำเลย หรือคนที่ทำผิดต่อไป
เป็นดุลยพินิจของคณะกรรมการในการให้ความช่วยเหลือ เช่น เรื่องการดูแลค่ารักษาพยาบาล
๑๔. ปัญหาของ พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ นี้เป็นปัญหาเดียวกับปัญหาของกองทุนยุติธรรม กล่าวคือ งบประมาณไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงมีแนวคิดที่ปรับปรุงกฎหมายนี้เพื่อหาช่องทางให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น เช่น นำรายได้จากเบี้ยประกันทุกชนิดร้อยละ ๓.๓ มาเป็นส่วนหนึ่งของรายได้ (ตามแบบประเทศฝรั่งเศส) หรือปรับแก้พระราชบัญญัตินี้ให้มีอำนาจแบบนิติบุคคลซึ่งจะสามารถไปฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทำให้เกิดความเสียหาย เป็นต้น
การปฏิรูปกลไกการทำงานในกระบวนการยุติธรรม
๑๕. อย่างไรก็ตามการปรับแก้ไขระเบียบกระทรวงว่าด้วยกองทุนยุติธรรม และพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ เป็นเพียงการบรรเทาทุกข์ให้กับชาวบ้านที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมที่ปลายทาง ฉะนั้น ทางกระทรวงยุติธรรมเอง รวมไปถึงสถาบันการศึกษาและวิจัยต่างๆ เช่นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศไทย ฯลฯ ได้มีแนวความคิดที่จะปฏิรูป
สมัชชาปฏิรูป ๑.หลัก ๓ การคืนความเป็นธรรมให้กับประชาชนกรณีที่ดินและทรัพยากร หน้า ๕/
กลไกการทำงานในกระบวนการยุติธรรม ยกตัวอย่าง เช่น ให้กระทรวงยุติธรรมส่งเสริมให้เกิดการปรับหลักคิด การทำงานของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม และข้าราชการทุกกระทรวงให้ยึดถือและสอดคล้องตามหลักรัฐธรรมนูญ พ.. ๒๕๕๐
๑๖. ให้กระทรวงยุติธรรมส่งเสริมให้เกิดการนำกระบวนการวิธีพิจารณาคดีที่หลากหลายที่ไม่ใช่การกล่าวหามาใช้ เช่น การใช้ระบบไต่สวน การเดินเผชิญสืบของผู้พิพากษา การพิจารณาจากหลักฐานบุคคลหรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น การใช้กระบวนการยุติธรรมชุมชน หรือจัดตั้งศาลเฉพาะที่ชำนาญการในข้อพิพาทคดีที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน และทรัพยากร โดยกระตุ้นให้กลไกต่างๆ ที่มีอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการพิจารณาคดีทำงานอย่างมีประสิทธิภาพบนฐานความเป็นธรรม
๑๗. อีกทั้งยังมีแนวคิดที่จะให้กระทรวงยุติธรรม และภาคีเครือข่ายภาคประชาชน ตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อรวบรวมคดีทั้งหมดเพื่อจำแนกว่าอยู่ในขั้นใด พร้อมวางมาตรการช่วยเหลือและทางออกในกรอบของกฎหมาย นอกจากนี้ทางรัฐบาลยังตั้งคณะทำงานต่าง ๆ เพื่อตรวจสอบการออกเอกสารสิทธิ์ที่ออกโดยมิชอบ มีคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่พิพาท พร้อมทั้งยังได้มีการสนับสนุนแนวทางยุติธรรมชุมชน หรือสมานฉันท์ชุมชน
๑๘. นอกเหนือจากการปฏิรูปกลไกกระบวนการยุติธรรมข้างต้นแล้ว ยังมีข้อกฎหมายรวมถึงหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงคมนาคม (ที่การรถไฟ), กระทรวงการคลัง (ที่ราชพัสดุ), กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกฎหมายที่ภาคประชาชนเรียกร้องให้มีการแก้ไขเพื่อสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมลํ้านั้น ได้แก่ พระราชบัญญัติป่าไม้ (๒๔๘๔), พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ (๒๕๐๔), พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (๒๕๐๗) ซึ่งเป็นกฎหมายที่หน่วยงานราชการใช้ฟ้องคดีทางอาญากับชาวบ้านผู้ยากไร้ อีกทั้ง พระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อมฯ (๒๕๓๕) มาตรา ๙๗ ที่เป็นการฟ้องทางแพ่งแก่ชาวบ้าน หรือที่ภาคประชาสังคมเรียกว่า คดีโลกร้อน โดยเรียกเก็บค่าเสียหายเป็นจำนวน ๑๕๐,๐๐๐ บาทต่อไร่
๑๙. การจะแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมลํ้าที่เกี่ยวข้องกับที่ดินและทรัพยากรนั้นจะไม่สามารถสำเร็จลุล่วงไปได้เลย ถ้าไม่มีการดำเนินการควบคู่ไปกับการปฏิรูปที่ดิน (Land Reform) เพื่อกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม โดยต้องคำนึงถึงเครื่องมือและการปรับแก้ไขกฎหมายต่าง ๆ อีกมาก ไม่ว่าจะเป็น การผลักดันให้เกิด พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, พระราชบัญญัติโฉนดชุมชน, ธนาคารที่ดิน, การเก็บภาษีมรดก และรวมไปถึงการแก้ไขกฎหมายการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ..๒๕๒๔ ซึ่งเป็นผลให้เจ้าของที่ดินไม่อยากให้เช่าที่ดินกับเกษตรกร และปล่อยที่ดินทิ้งร้างเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้จึงต้องอาศัยการผลักดันจากภาคประชาสังคม ความจริงใจในการแก้ปัญหาของรัฐบาล และรวมถึงความร่วมมือของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ เพื่อที่จะแก้ไขปัญหาอย่างเป็นองค์รวมและมีประสิทธิภาพ

สมัชชาปฏิรูป ๑.หลัก ๓ การคืนความเป็นธรรมให้กับประชาชนกรณีที่ดินและทรัพยากร หน้า ๖/__

เครือข่ายภาคประชาสังคม ชลบุรี กับ การมีส่วนร่วม สวัสดิการของแรงงานนอกระบบ และ ผู้อยู่นอกประกันสังคม


ครม.อนุมัติหลักการปฏิบัติการคุ้มครองประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบ
วันที่ 28 มีนาคม 2554  เมื่อเวลา 09.00  ห้องประชุมคณะรัฐมนตรี ชั้น 2 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี  เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี 
   สรุปสาระ ที่น่าสนใจบางส่วน  คือ
15. เรื่อง  การปฏิบัติการคุ้มครองประกันสังคมสู่แรงงานนอกระบบ
            คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน  พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ 
          สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
1.  กำหนดให้ร่างพระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม  พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป (ร่างมาตรา 2)
2. กำหนดให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์ และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทน  ตลอดจนหลัก      เกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของผู้ประกันตนซึ่งมิใช่ลูกจ้าง พ.ศ. 2537 (ร่างมาตรา 3)
3.  กำหนดคำนิยามคำว่า ผู้ประกันตน เงินสมทบ และ สำนักงาน ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น (ร่างมาตรา 4)
4. กำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน  โดยการสมัครเป็นผู้ประกันตนให้แสดงความจำนงต่อสำนักงาน (ร่างมาตรา 5)
5. กำหนดให้ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเป็นรายเดือนโดยกำหนดให้จ่ายเดือนละครั้ง (ร่างมาตรา 6)
 6. กำหนดให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเดือนละ 100 บาท ได้รับประโยชน์ทดแทน 3 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย  กรณีทุพพลภาพ และกรณีตาย (ร่างมาตรา 7)
7. กำหนดให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเดือนละ 150 บาท ได้รับประโยชน์ทดแทน 4 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย  กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีชราภาพ (ร่างมาตรา 8)
8. กำหนดให้ผู้ประกันตนที่ถึงแก่ความตาย  ให้ทายาทหรือบุคคลที่ระบุไว้มีสิทธิได้รับค่าทำศพ (ร่างมาตรา 12 และร่างมาตรา 13)  
9. กำหนดให้ผู้ประกันตนซึ่งได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย  กรณีคลอดบุตร กรณีทุพพลภาพ และกรณีตาย หากมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ในกรณีเดียวกัน  ให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนได้เพียงกรณีเดียว (ร่างมาตรา 18)
10. กำหนดให้ในระยะเริ่มแรก  ผู้ประกันตนที่เลือกสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 7 จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนในอัตราเดือนละ 70 บาท  และผู้ประกันตนที่เลือกสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 8 จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนในอัตราเดือนละ 100 บาท  ทั้งนี้ จนกว่าสำนักงานจะประกาศเป็นอย่างอื่น (ร่างมาตรา 20)
11. กำหนดบทเฉพาะกาลสำหรับผู้ประกันตนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ  ประเภทของประโยชน์ทดแทน  ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของผู้ประกันตนซึ่งมิใช่ลูกจ้าง พ.ศ. 2537 ให้ถือเป็นผู้ประกันตนตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกานี้ (ร่างมาตรา 21)
แสงสว่างปลายอุโมงค์  ที่พึ่งพิง.ของประชาชนที่ไร้ระบบสวัสดิการ

วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2554

ฤ ประเทศไทยจะเสียดินแดนถาวร?????

หลังจากเครือข่ายภาคประชาชน ส่วนหนึ่งได้ร่วมลงพื้นที่ ชายแดน ไทย-เขมร  เมื่อเร็วๆนี้สรุปคือ
   - หวังว่า เอกสารฉบับนี้จะทำให้ประชาชนคนไทยตื่นจากความฝันที่ประเทศไทยกำลังจะสูญเสียดินแดนอีกแล้ว นับตั้งแต่รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อกว่าร้อยปีที่แล้ว ประเทศของเราไม่เคยตกอยู่ในสภาพย่ำแย่แบบนี้เลย ในฐานะที่ผมเป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมาธิการร่วมพิจารณาบันทึกการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ๓ ฉบับ หรือที่ต่อแต่นี้ไปจะเรียกอย่างสั้นๆ ว่า JBC ๓ ฉบับ ผมได้ใช้เวลาในการศึกษารายงานการประชุม JBC ทั้ง ๓ ฉบับแล้วพบว่า ประเทศชาติอันเป็นที่รักของเรากำลังจะสูญเสียดินแดนครั้งสำคัญในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เป็นการสูญเสียดินแดนที่เกิดจากความบกพร่องและความไม่เข้าใจของนักการเมืองและรัฐบาลหลายต่อหลายรัฐบาล ความเข้าใจที่สับสนว่า
. พรมแดนไทยกัมพูชายังมิได้ปักปันเขตแดนแต่ประการใด ทั้งๆ ที่สยามกับฝรั่งเศสได้ปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา เสร็จสิ้นทั้งหมดมากว่าร้อยปีแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบริเวณเขาพระวิหาร สยามกับฝรั่งเศสได้ตกลงกันให้ใช้ขอบหน้าผา เป็นสันปันน้ำและเป็นเส้นเขตแดนตามธรรมชาติ ซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า จึงไม่ต้องมีการทำหลักเขตแดนใดๆ ทั้งสิ้น และ ไม่ต้องปักปันใหม่แล้ว
. เป็นความเข้าใจผิดอย่างร้ายกาจที่คิดว่าแผนที่ ๑:๒๐๐๐๐๐ เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีน ทั้งๆ ที่แผนที่ชุดดังกล่าวมีความไม่สมบูรณ์และเป็นแผนที่เก๊ทุกระวาง (คือมิได้นำแผนที่เข้าสู่ที่ประชุมของคณะกรรมการผสม และประธานของทั้งสองฝ่ายมิได้ลงนามรับรอง)
หลายคนอาจได้ยินคำว่า MOU ๔๓ ซึ่งก็คือ บันทึกความเข้าใจระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ซึ่งเป็น MOU ที่มิได้ผ่านรัฐสภา อันขัดต่อบทบัญญัติมาตรา ๒๒๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ..๒๕๔๐ และมิได้ผ่านขั้นตอนของการเสนอเรื่องตามลำดับขั้น โดยเฉพาะไม่ได้นำเสนอผ่านที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
MOU ๔๓ จึงเป็นบันทึกความเข้าใจฯ เถื่อน และใช้แผนที่ ๑:๒๐๐๐๐๐ เก๊ทุกระวาง แต่ความดื้อดึงและการหวังประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องอย่างหน้ามืดตามัวย่อมส่งผลให้ประเทศไทยต้องยอมรับแผนที่มาตราส่วน ๑:๒๐๐๐๐๐ ซึ่งมีข้อผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศมาใช้ประกอบการพิจารณาในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกเสียใหม่ ทั้งๆ ที่ได้มีการจัดทำหลักเขตแดนเสร็จสิ้นไปแล้ว และแน่นอนที่สุดว่า คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ก็ยอมรับเงื่อนไขของแผนที่มาตราส่วน ๑:๒๐๐๐๐๐ ที่จะนำมาประกอบการพิจารณาเช่นกัน
ตัว MOU ๔๓ แม้มิได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก หากแต่ MOU ๔๓ เป็นที่มาของข้อกำหนดตามแผนแม่บทอำนาจหน้าที่ ซึ่งเราเรียกว่า TOR ๔๖ แผนที่มาตราส่วน ๑:๒๐๐๐๐๐ จึงถูกนำมาใช้ประกอบการพิจารณาในระดับปฏิบัติการ
ภาคสนาม ซึ่งส่งผลให้เขตแดนของทั้งสองประเทศเกิดการอ้างสิทธิ์ของแต่ละฝ่าย โดยเฉพาะฝ่ายไทยต้องสูญเสียดินแดนทางพฤตินัยจากฝ่ายกัมพูชาเป็นจำนวนมาก และแน่นอนว่า ย่อมเกี่ยวข้องกับบันทึกรายงานการประชุมทั้ง ๓ ฉบับของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชาอย่างไม่ต้องสงสัย
ในรายงานเอกสาร เรื่องผลการประชุมคณะกรรมธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (Joint Boundary Commission - JBC) ที่จะนำเข้าสู่การประชุมของรัฐสภา เพื่อให้ที่ประชุมมีมติเห็นชอบบันทึกการประชุม ๓ ฉบับ อันได้แก่
. บันทึกการประชุม JBC สมัยวิสามัญที่เมืองเสียมราฐ เมื่อวันที่ ๑๐-๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
. บันทึกการประชุม JBC ครั้งที่ ๔ ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๓-๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
. บันทึกการประชุม JBC สมัยวิสามัญที่กรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ ๖-๗ เมษายน ๒๕๕๒
ข้อวิเคราะห์
. ที่มาของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา เกิดจากบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ลงนาม ณ กรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๓ (..๒๐๐๐ หรือ MOU ๔๓/๒๐๐๐) ซึ่งมีความเห็นว่า ตัวบันทึกความเข้าใจฯดังกล่าว ยังไม่ผ่านขั้นตอนของรัฐสภาและบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปีพุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตรา ๒๒๔ ที่มาที่ไปของคณะกรรมาธิการฯ ชุดนี้จึงมิชอบ ดังนั้น เมื่อนำบันทึกรายงานการประชุมเข้ามาพิจารณา จึงไม่ชอบด้วยกฏหมาย
. เมื่อได้ศึกษารายงานเอกสารดังกล่าวนี้โดยละเอียดแล้วพบว่า บันทึกการประชุมทั้ง ๓ ฉบับมีเนื้อหาสาระสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดน โดยเฉพาะเขตพื้นที่ประกาศกฤษฎีกาอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ซึ่งครอบคลุมเนื้อที่บริเวณ ๔.๖ ตารางกิโลเมตร และอาจทำให้ข้อสงวนสิทธิ์ที่เคยมีมา กรณีปราสาทพระวิหารภายหลังการตัดสินของศาลโลก (ซึ่งไทยได้ไปตั้งข้อสงวนสิทธิ์ที่จะเรียกคืนตัวปราสาท หากมีการค้นพบหลักฐานหรือข้อมูลทางวิชาการใหม่)และอาจเป็นไปได้ว่า เราจะไม่สามารถเรียกคืนตัวปราสาทกลับมาเป็นของไทยได้อีกเลย หากปล่อยให้กัมพูชาเข้ายึดครองพื้นที่ และนำไปเป็นส่วนหนึ่งของแผนบริหารการจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหาร
. เฉพาะบันทึกฉบับที่ ๒ และฉบับที่ ๓ ซึ่งมีการแนบ ร่างข้อตกลงชั่วคราว ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชากับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยว่าด้วยเรื่องปัญหาชายแดนในพื้นที่ (ไทย - ปราสาทพระวิหาร, กัมพูชา - ปราสาทเปรียะวีเฮียร์) ซึ่งในเบื้องต้นสามารถมองเห็นได้ว่า มีการหารือเรื่องร่างข้อตกลง ซึ่งได้รับการบรรจุอยู่ในระเบียบวาระ เรื่องพิจารณา (ในภาคผนวก ๕ หน้า ๑๐๒) เท่ากับว่าฝ่ายไทยเห็นด้วยว่าในพื้นที่อาณาบริเวณดังกล่าวไม่ใช่เป็นของฝ่ายไทยหรือแผ่นดินไทยแต่ฝ่ายเดียว หากแต่เป็นดินแดนที่พิพาท (ทั้ง ที่ภายหลังคำตัดสินของศาลโลก ฝ่ายไทย ยังยืนยันความเป็นเจ้าของมีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนในอาณาบริเวณนี้ ยกเว้นตัวปราสาทที่ต้องปฏิบัติตามคำตัดสินศาลโลก ส่วนพื้นที่พิพาทฝ่ายไทยยืนยันว่าเป็นพื้นดินที่รองรับตัวปราสาท และยังมีหลักฐานจากบทสัมภาษณ์ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และการเสด็จพระราชดำเนินของกษัตริย์ นโรดม สีหนุ ที่นำคณะรัฐบาล บุคคลสำคัญชาวกัมพูชา ประชาชน และสื่อมวลชนขึ้นมาชักธงกัมพูชาขึ้นสู่เสาในตัวปราสาทพระวิหาร) อีกประการหนึ่งคณะกรรมการ มรดกโลกและยูเนสโกต่างเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีกลไกของ JBC และร่างข้อตกลงชั่วคราวฯ ดังกล่าว เพื่อให้การขึ้นทะเบียนมรดกโลกปราสาทพระวิหารของกัมพูชามีความสมบูรณ์ จึงออกเป็นมติไว้ในการประชุมครั้งที่ ๓๓ ทั้งๆ ที่ คณะกรรมการมรดกโลกและยูเนสโกไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของการปักปันเขตแดนของทั้งสองประเทศ รวมไปถึงการชักชวนให้ไทย ซึ่งรู้ว่ากำลังมีปัญหาเรื่องเขตแดนนี้ เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วน ๑ ใน๗ ชาติเพื่อพัฒนาพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหาร
การเกริ่นนำของกองเขตแดน กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ จึงปรากฏถ้อยคำที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นอันตรายคือ การแนบร่างข้อตกลงชั่วคราวฯ ล่าสุดไว้ในบันทึกการประชุม JBC สมัยวิสามัญที่กรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ ๖-๗ เมษายน ๒๕๕๒ (หน้า ๑) ซึ่งเป็นร่างข้อตกลงที่เป็นอันตรายและสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดน และอาจนำไปสู่ปัญหาที่ยุ่งยากต่อการสำรวจและตรวจสอบหลักเขตแดนที่ได้กระทำไปเรียบร้อยจบสิ้นแล้ว โดยเฉพาะบริเวณปราสาทพระวิหารและแนวเขตแดนจากช่องบกมาจนถึงช่องสะงำซึ่งได้ดำเนินการปักปันไปแล้วกว่า ๑๐๐ ปีที่ผ่านมาภายใต้พื้นฐานสนธิสัญญาฉบับ ค.. ๑๙๐๔ โดยคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-อินโดจีนชุดที่ ๑
. การเกริ่นนำของกองเขตแดนในข้อที่ ๕ ซึ่งเป็นการรายงานความคืบหน้าเพิ่มเติมในหลายประเด็นซึ่งมีทั้งหมด ๗ ข้อ ข้อที่น่าจะเป็นอันตรายในระดับต้นๆ คือ ข้อที่ ๕., .๔ และ ๕. (หน้า ๒) กล่าวคือ ในข้อที่ ๕.๓และ๕.๔ เป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับเรื่องพื้นที่ที่กัมพูชาจะนำไปขึ้นทะเบียนโดยสมบูรณ์ (คือบริเวณบางส่วนระหว่างหลักเขตที่ ๑ ถึง เขาสัตตโสม) ซึ่งโดยหลักการแล้วควรมีหลักเขตแดนให้แน่ชัดเสียก่อน โดยการไปส��ำรวจแนวของสันปันน้ำที่เคยปักปันไปแล้วตามสนธิสัญญา ค..๑๙๐๔ และรายงานการประชุมของคณะกรรมการปักปันเขตแดนสยาม-ฝรั่งเศส ชุดที่ ๑ ซึ่งถ้าฝ่ายไทยยืนยันตามหลักฐานเอกสารที่ถูกต้อง ทำไมจึงต้องไปเริ่มต้นกันใหม่
ในข้อที่ ๕.๖ เรื่องความเห็นชอบให้มีการประชุม JBC สมัยวิสามัญเพื่อหารือประเด็นกฎหมายเกี่ยวกับพื้นที่สำรวจตอนที่ ๖ (หน้า ๒) ซึ่งในแง่ของนักวิชาการ ภาคประชาชน และเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของกระทรวงการต่างประเทศและตัวประธาน JBC ของไทยยังมีความเห็นแย้งกันอยู่มากและหลายประเด็น โดยเฉพาะการตีความคำพิพากษาที่เห็นตรงกันข้าม การอ่านบันทึกวาจา หรือแม้แต่ทัศนคติที่เลือกข้าง ดังจะเห็นได้จากการที่ประธาน JBC ฝ่ายไทยไปให้คำชี้แจงในวาระต่างๆ ทั้งๆ ที่คณะกรรมาธิการทั้งสภาผู้แทนราฎรและวุฒิสภา มีทัศนคติที่เห็นด้วยกับฝ่ายกัมพูชาและการตีความคำตัดสินของศาลโลกเข้าข้างฝ่ายกัมพูชา โดยขาดรากฐานความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาต่อกรณีปราสาทพระวิหาร ด้วยเหตุนี้ จึงควรนำประเด็นดังกล่าวมาร่วมปรึกษาหารืออย่างกว้างขวาง ก่อนจะดำเนินการเจรจา
. การศึกษาของคณะกรรมาธิการฯ ยังไม่สามารถสรุป หรือลงมติใดๆ ได้ เพราะเอกสารที่ใช้ในการประกอบการศึกษาและการตัดสินใจยังไม่เพียงพอ เอกสารสำคัญๆ เมื่อร้องขอไปแล้วยังไม่ได้รับการตอบสนองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการต่างประเทศ กรมแผนที่ทหาร ทั้งๆ ที่มีตัวแทนเข้ามานั่งประชุมอยู่ด้วยทุกครั้ง ถือเป็นการบังคับให้ต้องลงมติโดยปราศจากข้อมูล
. เนื้อหาในบันทึกการประชุมมีเนื้อหาที่บ่งชี้ว่า ฝ่ายไทยเสียเปรียบฝ่ายกัมพูชาหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการย้ายพื้นที่มาดำเนินการในพื้นที่ตอนที่ ๖ ก่อน หรือแม้กระทั่งคำปราศรัยของนายวาร์ คิม ฮอง ประธานกรรมาธิการเขตแดนฯฝ่ายกัมพูชา ที่กล่าวว่าไทยได้ส่งกองกำลังทหารรุกล้ำเข้าไปยังดินแดนของกัมพูชา บริเวณปราสาทพระวิหาร ปราสาทตาควาย และปราสาทตาเมือนธม
ดังนั้น การพิจารณาของรัฐสภาไทยเพื่อผ่านรายงานบันทึกการประชุม JBC ทั้ง ๓ ฉบับนี้ ย่อมทำให้ประเทศไทยสูญเสียดินแดนบริเวณปราสาทพระวิหาร ปราสาทตาควาย และปราสาทตาเมือนธม และถือเป็นการเริ่มต้นของการสูญเสียดินแดนครั้งใหม่ตลอดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา
---------------------------------------
ส่วนหนึ่งมาจาก
- เทพมนตรี ลิมปพยอม, มัฆวานรังสรรค์
๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔
ดำเนินกรจัดพิมพ์โดย กองทุนมูลนิธิยมเฝ้แผ่นดินเพื่อทวงคืนเขพระวิห
พิมพ์ที่ บริษัท กันต์รพีกรุ๊ฟ จำกัด ยวินัย แซ่ลี้ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณ

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2554

วงการแพทย์ไทย.... และ ระบบ ความยุติธรรม ไทย หรือ ชะตากรรมของชีวิต...ของ หัวอกแม่

20 ปีคดีอัปยศ จากหัวใจ....แม่...เพื่อ...ลูก...
• หาก เด็กคนนี้ เป็นลูกคุณบ้าง...คุณจะทำฉันใด
o หาก คุณเป็นแม่...คนนี้ จะทำอะไร อย่างไร ต่อไป.....
o หากเป็น...เรา...จะทำอย่างไร ต่อไป.....

"อีกเจ็ดวันครบ 20 ปี ที่แม่อย่างฉันตามหาความเป็นธรรมให้ลูกที่ได้รับความเสียหายจากการทำคลอดของรพ.พญาไท 1 จนถึงวันนี้ก็ยังไม่สำเร็จ แต่ฉันไม่ได้สู้เพื่อลูกเท่านั้นฉันสู้เพื่อผู้คนในสังคมจะได้ไม่ต้องตกเป็นเหยื่อเหมือนครอบครัวฉันอีก"
ปรียนันท์……เป็นหญิงท้องแรก ฝากครรภ์กับสูตินรีแพทย์ของรพ.พญาไท 1 พบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ เมื่อเจ็บท้องคลอดเธอไปโรงพยาบาล แพทย์ติดดูแลคนไข้อื่น และสั่งให้ยาเร่งคลอดทางโทรศัพท์โดยไม่มาตรวจครรภ์ เมื่อใช้ยาเร่งคลอดไม่ได้ผลแพทย์พยายามช่วยคลอดด้วยการใช้เครื่องดูดดึงแต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากเด็กอยู่ในท่าผิดปกติคือหงายหน้าออก(OPP) หลังผ่าตัดทำคลอด เด็กมีน้ำหนักมากถึง 4,050 กรัม บริเวณท้ายทอยมีรอยบวมน่วมก้อนโตที่เกิดจากการใช้เครื่องดูด
              หลังคลอดเด็กตัวเหลืองมากส่องไฟไม่ลด กุมารแพทย์เปลี่ยนถ่ายเลือดผ่านสาย สะดือ เกิดการติดเชื้อ มีไข้สูง สะดือแฉะมีหนองสีเหลือง ร้องกวนมาก น้ำหนักลดอย่างต่อเนื่อง ตรวจพบเม็ดเลือดขาวสูงมาก แต่แพทย์มิได้ให้ยาปฏิชีวนะ มีการเจาะเลือดเพื่อเพาะเชื้อ แต่ไม่ทันทราบผลก็จำหน่ายเด็กออกจากโรงพยาบาล  การติดเชื้ออย่างรุนแรงโดยไม่มีการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและทันท่วงที ทำให้ ข้อสะโพกซ้ายของเด็กติดเชื้ออย่างรุนแรงถูกเชื้อโรคทำลายจนสลายไป กลายเป็นความทุกข์ทรมานและเป็นปัญหาเรื้อรังของเด็กไปตลอดชีวิต
           ปรียนันท์ฯ......อุ้มลูกกลับไปขอความช่วยเหลือจากโรงพยาบาลหลายครั้ง แต่ถูกปฏิเสธ อ้างว่าลูกของเธออาจติดเชื้อจากที่ใดก็ได้คนเราเป็นหวัดก็ติดเชื้อไวรัสจาก อากาศ จะช่วยรักษาให้แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายปกติ จะลดให้บ้างเพื่อเห็นแก่มนุษยธรรม แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นการรับผิด เพราะไม่ได้ทำผิดพลาด ใด ๆ เธอจึงอุ้มลูกกลับบ้านด้วยความช้ำใจ
น้องเซ้นต์เจ็บปวดทุกข์ทรมานจากการผ่าตัดหลายครั้ง ปรียนันท์ฯ ทุ่มเทค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาลูกจำนวนมาก จนแทบสิ้นเนื้อประดาตัว ก็ไม่สามารถแก้ไขเยียวยาความเสียหายได้ ปัจจุบันลูกของเธอข้อสะโพกซ้ายไม่มี ขาสองข้างไม่เท่ากัน เดินกระเผลก นั่งขัดสมาธิไม่ได้ หลังคดปวดขาทุกคืน ข้อแขนซ้ายถูกทำลายและมีร่องรอยของกระดูกต้นแขนหัก สั้นและอ่อนแรงกว่าแขนขวา แกว่งแขน 360 องศาไม่ได้บริเวณท้าย ทอยมีรอยเครื่องดูดและผมขึ้นน้อย หลังอายุ 20 ปี ต้องได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียมทุก 10 ปี การเคยติดเชื้อในกระดูกทำให้การผ่าตัดมีความเสี่ยงสูงกว่าคนปกติ ข้อเทียมที่เหมาะสม ต้องทำจากไทเทเนียมและเซรามิคซึ่งมีราคาสูงมาก และสิทธิบัตรทองไม่ครอบคลุม
                 วิบากกรรม...ของการต่อสู้
ปรียนันท์ฯ     ร้องเรียนทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทย รวมทั้งดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ เจ้าของโรงพยาบาลซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในสมัยนั้น แต่ไม่ได้รับการตอบสนอง เมื่อขอคัดถ่ายสำเนาเวชระเบียนเพื่อนำไปรักษาลูก ก็ถูกท้าทายให้นำทนายความไปฟ้องเอา

ฟ้องโรงพยาบาลพญาไท 1
ปรียนันท์ฯฟ้องรพ.พญาไท 1และแพทย์ผู้รักษา เป็นคดีแพ่งเรียกค่าเสียหาย ระหว่างนั้นดร.อาทิตย์ฯ เจ้าของรพ.เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ต่อมากิจการรพ.พญาไท 1 ถูกเปลี่ยนมือบริหารโดยนายวิชัย ทองแตง (ทนายความคดีซุกหุ้ของดร.ทักษิณ ชินวัตร) เธอใช้เวลาต่อสู้คดีนานถึง 9 ปี ศาลชั้นต้น, อุทธรณ์และฎีกา พิพากษายกฟ้องเพราะคดีหมดอายุความทางแพ่งหนึ่งปี (เหตุเกิดปี2534 ยื่นฟ้องปี 2539 รอมติแพทยสภา) แม้จะต่อสู้ว่าเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องอาญา เนื่องจากลูกของเธอได้รับอันตรายสาหัสจนถึงขั้นพิการ ต้องนับอายุความทางอาญาที่ยาวกว่าคือ 10 ปี แต่ศาลฎีกาให้เหตุผลว่าเธอบรรยายฟ้องไม่ครบองค์ประกอบคดีอาญา นับอายุความที่ยาวกว่าไม่ได้ จึงพิพากษายืน (คดีสิ้นสุดแล้ว) คดีนี้เธอถูกยึดค่าธรรมเนียมศาลละสองแสนบาท ถูกศาลปรับให้จ่ายค่าทนายให้รพ.พญาไท 1 อีก 1 แสนบาท ทำให้เธอถึงกับสิ้นเนื้อประดาตัว เนื่องจากต้องมีภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาลูกอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

ระหว่างนั้นคณะกรรมาธิการการสาธารณสุขสภาผู้แทนราษฎร ชี้ว่าเป็นความผิดพลาดของโรงพยาบาล แต่โรงพยาบาลอ้างว่าศาลตัดสินว่าโรงพยาบาลไม่ผิดจึงไม่ยอมเจรจา ทั้งที่ศาลตัดสินว่าคดีหมดอายุความ ยังไม่ได้พิสูจน์ถูกผิด
         (ปัจจุบันรพ.พญาไท1 เปลี่ยนเจ้าของเป็นของนพ.ปราเสริฐ ประสาททองโอสถ เจ้าของรพ.กรุงเทพฯ และสายการบินบางกอกแอร์เวย์)

ถูกฟ้องกลับ 100 ล้าน
เมื่อ ใช้กฎหมายไม่เป็นผล ปรียนันท์ฯ ไปถือป้ายประท้วงที่หน้าโรงพยาบาลคู่กรณี พร้อมให้สัมภาษณ์สื่อทั้งวิทยุ,หนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ เป็นเหตุให้คู่กรณี(สมัยนายวิชัย ทองแตงบริหาร) ฟ้องเธอ 2 คดีทั้งทางแพ่งและอาญา ข้อหาละเมิดและหมิ่นประมาทเรียกค่าเสียหาย 100 ล้านบาท

คดีอาญา
 ใช้เวลาต่อสู้นาน 5 ปี ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องคำพิพากษาระบุว่า “เห็นว่าจำเลยได้ยื่นร้องเรียนตามสิทธิข้อกฎหมาย เป็นการแสดงเพื่อความสุจริต เพื่อความชอบธรรม ป้องกันผลกระทบด้านความปลอดภัยของชีวิตและครอบครัวการกระทำของจำเลยจึงไม่มีมูลความผิด” (คดีสิ้นสุดแล้ว)
คดีแพ่ง
รพ.พญา 1 ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากเธอ 100 ล้านบาทใช้เวลาต่อสู้นาน 7 ปี ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง คำพิพากษาระบุว่า “เห็นว่าคำกล่าวของจำเลย เป็นการกล่าวไปตามความเข้าใจเพื่อความชอบธรรมและปกป้องสิทธิตามครองธรรม จึงไม่เป็นการละเมิด พิพากษายืน” คู่กรณียื่นฎีกา (คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา)
    เกี่ยวกับคดีนี้
1.คู่กรณีร้องขอให้ศาลออกคำสั่งปิดปากเธอไม่ให้ออกสื่อ มีการไต่สวนและออกคำสั่งลับหลังโดยเธอไม่ได้ไปศาลทนายฝ่ายรพ.พญาไท 1 แถลงว่าส่งหมายแล้วเธอไม่มาศาลทั้งที่หมายไม่เคยออกจากศาล  เธอขอให้ศาลยกเลิกคำสั่งเดิมขอให้มีการไต่สวนใหม่ ศาลยกเลิกคำสั่งเดิมที่มิชอบด้วยกฎหมายและให้ไต่สวนใหม่แต่ก็ออกคำสั่งปิดปากเหมือนเดิม
2.คู่กรณีฟ้องเรียกค่าเสียหาย100ล้านบาท ศาลให้เธอชนะแต่ไม่สั่งให้รพ.พญาไท1 จ่ายค่าทนายให้ฉันแม้แต่บาทเดียว ช่างต่างกับคดีที่เธอฟ้องรพ.57 ล้านเมื่อศาลยกฟ้อง ศาลสั่งให้เธอจ่ายค่าทนายให้รพ.ตั้งหนึ่งแสนบาท ทั้งที่คกก.สิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีมติว่ารพ.ผิด
          ปรียนันท์......ไม่ยอมถอย
เมื่อถึงทางตันกับคำว่า “หมดอายุความ” แต่การละเมิดสิทธิเด็กยังคงอยู่ ปรียนันท์ฯ ร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) ที่มีมติอย่างตรงไปตรงมาว่า
(1)  แพทย์ผู้ทำคลอดและกุมารแพทย์ของโรงพยาบาลพญาไท1 ประมาทเลินเล่อรวมทั้งโรงพยาบาลพญาไท 1 ไม่มีมาตรการแก้ไขเยียวยา จึงก่อให้เกิดเหตุการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงให้ช่วยเหลือเยียวยา ทันที (แต่รพ.พญาไท 1 เพิกเฉยไม่ทำตามมติ)
(2) กระบวนการตรวจสอบของแพทยสภาไม่เป็นธรรมต่อผู้ร้องให้รื้อฟื้นเรื่องขึ้น พิจารณาใหม่ภายใน 30 วัน (กระทรวงสาธารณสุข ยุคนายไชยา สะสมทรัพย์ ส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่า แพทยสภาไม่มีอำนาจในการรื้อคดีใหม่ โดยแพทยสภาได้เข้าชี้แจงเพียงฝ่ายเดียว)

กสม.ก็ไม่ยอมถอย
เมื่อกสม.ไม่สามารถบังคับให้รพ.พญาไท 1 และแพทยสภาให้ทำตามมติได้ จึงรายงานนายกรัฐมนตรี (นายสมัคร สุนทรเวช) ให้มีบัญชาภายใน 60 วัน แต่นายสมัครฯไม่มีบัญชา (พี่สาวของนายสมัครฯ เป็นกรรมการแพทยสภาชุดที่ปรียนันท์ฯ ฟ้อง)

กสม.จึงเดินหน้ารายงานต่อประธานรัฐสภาและวุฒิสภา เรื่องเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรนาน 4 ชั่วโมงในสมัยรัฐบาลนายสมชาย วงษ์สวัสดิ์ ซึ่ง นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตั้งกรรมการไกล่เกลี่ยเสนอให้เธอรับเงิน 5 แสนบาทและให้ยุติเรื่อง แต่เธอขอให้คู่กรณีแสดงความเสียใจและขอโทษต่อเหตุการณ์ที่ผ่านมาเสียก่อน แล้วค่อยพูดถึงการเยียวยาแต่คู่กรณีปฏิเสธ
          ขณะที่รัฐบาลให้เหตุผลว่านอกเหนือวิสัยที่รัฐจะเข้าไปแทรกแซงได้ เนื่องจากเป็นข้อพิพาทระหว่างเอกชนกับโรงพยาบาลเอกชน
          ฟ้องแพทยสภา
เธอร้องเรียน แพทยสภา เรื่องเงียบนานเกือบ 3 ปี พอเธอยื่นฟ้องโรงพยาบาล แพทยสภาก็รีบมีมติว่าเรื่องของเธอเป็น”คดีไม่มีมูล” โดย ไม่เคยเรียกเธอชี้แจง และละเว้นไม่สอบสวนนพ.สุรพงษ์ อำพันวงศ์ ผอ.โรงพยาบาลที่นั่งออกรายการทีวีคู่กับพญ.ประสบศรี อึ้งถาวร รองเลขาธิการแพทย สภาผู้เซนต์มติรวมทั้งคู่กรณีทำรายงานเท็จขัดต่อข้อเท็จจริงในเวชระเบียน

ความไม่ชอบมาพากลทำให้ปรียนันท์ร้องขอให้แพทยสภารื้อคดีใหม่ แต่แพทยสภายกคำร้องไม่รื้อคดีใหม่ แม้จะมีกรรมการสองท่านให้ความเห็นแย้งว่า”คดีมีมูล” และการวินิจฉัยมีความล่าช้าไม่ทันท่วงทีก็ตาม มิหนำซ้ำยังมีนพ.เอื้อชาติ กาญจนพิทักษ์ กรรมการแพทยสภาเสนอให้ลบรายงานการประชุมส่วนที่มีความเห็นแย้งออกด้วย
เธอจึงฟ้องแพทยสภาทั้งคณะ 33 คน เป็นคดีอาญามาตรา 157 ฐานละเว้นและปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ศาลใช้เวลา 6 ปีในการไต่สวนมูลฟ้อง ศาลชั้นต้น, อุทธรณ์และฎีกาพิพากษาไม่รับฟ้อง
คำพิพากษาระบุว่า“..แม้จะเป็นความจริงว่าเป็นการช่วยเหลือแแพทย์ผู้ถูกร้องไม่ให้ถูกลงโทษ ก็มิได้ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือกระทบกระเทือนสิทธิ์ในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนโดยตรงแต่ประการใด โจทก์ทั้งสองไม่ใช่ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้องแพทยสภาทั้ง 33 คน”
      ปรียนันท์ฯ...........เลือกไม่ดำเนินคดีอาญา ต่อแพทยสภาอีก เนื่องจากคณะกรรมการสิทธิฯ มีมติแล้วว่า แพทยสภาผิด สังคมรับรู้แล้วว่าแพทยสภาผิด เธอไม่ประสงค์จะให้ใครติดคุก เพียงแค่ต้องการปรามไม่ให้แพทยสภาทำกับคนอื่นในสังคมอีก แต่กลับเป็นเหตุให้แพทยสภานำคดีนี้เป็นบรรทัดฐาน ต่อสู้กับผู้เสียหายที่ฟ้องแพทยสภาเป็นคดีอาญา แทบทุกคดี
          ความเสียหายใหม่
ต่อมาในปี2551เมื่อน้องเซ้นต์อายุได้ 17 ปี มีอาการปวดหลังร้าวลงไปที่ขาอย่างรุนแรง หลายครั้งไม่สามารถนอนหลับลงได้ ผลการตรวจเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์เมื่อ 14 มิ.ย. 51 พบว่า “กระดูกสันหลังเคลื่อน โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ หมอนรองกระดูกเคลื่อนกดทับไขสันหลังและเส้นประสาท” เป็นความเสียหายใหม่ ที่เกิดขึ้นต่อเนื่องจากความเสียหายเดิม
        ศาลคือที่พึ่งสุดท้าย..อีกครั้ง
ปี 2551 ประเทศไทยมีกฎหมายใหม่ “พรบ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551” มาตรา 13 บัญญัติว่า “ในกรณีที่ความเสียหายเกิดขึ้นต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพ หรืออนามัย...เป็นกรณีที่ต้องใช้เวลาใการแสดงอาการ ผู้บริโภคหรือผู้มีอำนาจฟ้องคดีแทนผู้บริโภค ต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายในสามปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหาย ....”
19 พ.ค. 52
ปรียนันท์ฯ ฟ้องรพ.พญาไท 1 เป็นคดีผู้บริโภค ทางรพ.พญาไท 1 (ยุคนายวิชัย ทองแตง) ไม่ประสงค์เจรจาไกล่เกลี่ย และต่อสู้โดยยื่นคำร้องขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดว่าเป็นคดีฟ้องซ้ำและหมดอายุความ
28 ก.ค. 52
  ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องว่า “ฟ้องซ้ำและหมดอายุความ” ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์  โดยกรมคุ้มครองสิทธิฯ กระทรวงยุติธรรมช่วยดูแลเรื่องคดีความ

“กว่า 20 ปี ที่แม่อย่างฉันอดทนต่อสู้หาความเป็นธรรมให้กับลูก เพราะเชื่อตามที่กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดว่า “สิทธิของผู้บริโภคย่อมได้รับการคุ้มครอง” แต่จนถึงทุกวันนี้ผู้บริโภคอย่างฉันกับลูกไม่เคยได้รับการคุ้มครอง มีแต่ต้องดิ้นรนช่วยเหลือตนเองแทบทั้งสิ้น

ฉันร้องเรียนหลายหน่วยงานทุกวิถีทาง แต่ไม่มีเส้นทางไหนเข้าถึงความยุติธรรมได้เลยเพราะระบบเส้นสายอุปถัมภ์ที่มีอยู่จริงในบ้านเมืองเป็นอุปสรรค  หลายครั้งฉันรู้สึกท้อแท้สิ้นหวัง  แต่ก็ไม่เคยถอยให้กับความไม่ถูกต้อง จนทุกวันนี้ถือว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องทำเพื่อสังคมส่วนรวม  มากกว่าเรื่องลูกซึ่งเป็นเรื่องส่วนตัว ฉันอดทนต่อสู้จนผู้คนในสังคมบางคนตราหน้าว่าฉันนั้น บ้า โง่ ตลก ทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้  แต่ฉันกลับเห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่ เนื่องจากเป็นการร่วมมือกันรังแกประชาชน ของอำนาจรัฐ อำนาจตุลาการ ถ้าปล่อยเรื่องนี้หลุดรอดการตรวจสอบ  ต่อไปชาวบ้านจะอยู่กันได้อย่างไร  ทุกคนมีเจ็บไข้ได้ป่วยกันทุกวัน  หมอก็มีผิดพลาดทุกวัน   แล้วประชาชนที่ไม่มีเส้นสายจะหาความเป็นธรรมได้จากใคร
        โรงพยาบาลพญาไท 1 และแพทยสภา คงไม่รับรู้ว่าท่านได้ทำบาปทำกรรม   ทำลายครอบครัวที่บริสุทธิ์ครอบครัวหนึ่งจนพังพินาศสิ้นเนื้อประดาตัว ชีวิตครอบครัวเหมือนแพแตก แยกไปคนละทิศละทาง สามีฉันบากหน้าไปทำงานขายแรงงานที่ต่างประเทศ เพื่อหาเงินมาไว้รักษาลูกในอนาคต แต่ก็ไปได้รับอุบัติเหตุตกจากหลังคาที่ไปรับจ้างซ่อม จนกระดูกสันหลังหัก ยังต้องรักษาตัวอยู่อย่างต่อเนื่อง  (ปัจจุบันสามีกลับมาอยู่กับครอบครัวแล้ว  แต่ก็ทำงานหนักไม่ได้ เพราะปวดและหลังแข็ง บ่อย ๆ ในอนาคตก็ไม่รู้จะเป็นอย่างไร)
              แม้จะแบกรับเรื่องส่วนตัวและเรื่อง ส่วนรวมหนักเพียงใด แต่ฉันก็ยืนหยัดที่จะสู้ เพียงเพื่ออยากเห็นความถูกต้อง และอยากเห็นวงการแพทย์ วงการศาล มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น  ฉันรู้ว่าไม่มีแพทย์คนไหนตั้งใจทำพลาด แต่ในเมื่อพลาดแล้วควรจะรับผิดชอบช่วยเหลือดูแลเยียวยาผู้เสียหายบ้าง  ไม่ใช่ปัดความรับผิดชอบไม่พูดคุยปล่อยให้เผชิญชะตากรรม    เห็นชาวบ้านไม่มีความรู้ก็ท้าทายให้ฟ้อง   มิหนำซ้ำยังอาศัยความเหนือกว่าทุกด้านรังแก และยืมมือกฎหมายฟ้องกลับ ทำให้ผู้เสียหายต้องมีภาระค่าใช้จ่ายในการสู้คดีหนักเข้าไปอีก
           ฉันคือคนที่นอนอยู่กับปัญหามาอย่างยาวนาน จนหมอบางคนเรียกฉันว่า"นางปีศาจร้ายวงการแพทย์" ขอทำนายอนาคตของสังคมไทยว่า  หากขืนปล่อยให้สังคมมีความเหลื่อมล้ำเช่นนี้ต่อไป “ความเป็นธรรมไม่มี สันติสุขไม่มีวันเกิดขึ้นอย่างแน่นอน”
ฉันขอฝากไปถึงผู้หลักผู้ใหญ่ในวงการแพทย์ว่า ขอให้แก้ไขในสิ่งผิด ขอให้เป็นสุภาพบุรุษสุภาพสตรี หยุดการกล่าวให้ร้ายฉันว่าเป็นคนคุยไม่รู้เรื่อง ต่อสู้ด้วยความอาฆาตแค้น ปล่อยให้ลูกเดินกระเผลกเพื่อเรียกร้องความสนใจ ต้องการฟ้องร้องเพื่อให้ได้เงินเยอะ ๆ หรือไม่ตัดรองเท้าให้ลูกใส่ ที่ผ่านมารพ.พญาไท 1 ไม่เคยรับผิดชอบใด ๆ ทิ้งภาระให้ฉันเสียค่ารักษาผ่าตัด ดูแลลูกจนแทบสิ้นเนื้อประดาตัว เอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ลูกทุกปีล่าสุดหมดไป 36,000 บาท และทำพื้นรองเท้าเสริมด้านใน 4,800 บาท(เสริมด้านนอกสูงมากเดินแล้วเท้าพลิก) ค่าใช้จ่ายในการทำกายภาพบำบัดอาทิตย์ละหนึ่งครั้ง และอื่น ๆ อีกมากมาย ขอให้หยุดทำร้ายครอบครัวฉันเสียที และปีนี้ลูกฉันอายุครบ 20 ปีต้องได้รับการผ่าตัดใส่ข้อสะโพกเทียมแล้ว ใครจะยื่นมือเข้ามาแก้ไขในสิ่งผิด หากวงการแพทย์ไทยนิ่งเฉยฉันก็จะดิ้นรนทางอื่นต่อไป

……ทุกขั้นตอนการต่อสู้มีความอัปยศอดสูที่ฉันได้บันทึกเอาไว้อย่างละเีอียด โปรดเข้าไปอ่านต่อได้ที่  http:/www.thai-medical-error.blogspot.com หรือคลิกเข้าไปอ่านหนังสือที่ฉันเขียน "นางปีศาจร้ายในสายตาหมอ"……ได้ที่นั่นเช่นกัน