วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555

นี่แหละความเป็นธรรมที่เราไขว่หาจากประชาชน แต่หาไม่เจอจากระบบข้าราชการ-รัฐวิสาหกิจ ไทย


มือตบซี 7’ ...ได้ซี 7  ในระบบราชการไทยไง??


      ในที่สุด บทสรุปของกรณีที่ข้าราชการซี 7 ของกรมสรรพากร  ตบบ้องหูของพนักงานสนามบินสุวรรณภูมิ เนื่องจากไม่พอใจที่ ศิริชัย ใหม่ชุ่ม พนักงานตรวจสอบความปลอดภัย ของบริษัทเอเชีย ซีเคียวรีตี้เมเนจเมนท์ ได้ขอตรวจค้นบริเวณจุดตรวจค้นอาวุธภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ก็ออกมาสู่สังคม  ไม่มีอะไรเกิดขึ้น  แสวงหาสำนึกไม่มี...???
   
       เป็นไปดังที่หลายคนคาด เพราะสุดท้ายแล้ว ผลสอบก็ออกมาว่า   
สมบัติ ชาติไชยไววิทย์  ซึ่ง ดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริการผู้โดยสารที่ 1 ของกรมศุลกากร นั้นไม่ได้ทำผิดวินัยไม่ร้ายแรง เนื่องจากมีอาการทางประสาท และ  ส่งผลให้เขาต้องหยุดพักไปรักษาตัวเป็นเวลา 2 เดือนเท่านั้นเอง
   
       ซึ่งผลสอบที่ออกมาทำให้หลายคนสงสัยแท้ว่าแล้วการลงโทษทางวินัยของข้า ราชการนั้นมีมาตรฐานอย่างไรกันแน่ และถ้าข้าราชการคนนี้ป่วยจริง เหตุใดเขาจึงยังสามารถทำงานมาได้ตามปกติก่อนหน้านี้? หรือว่าแท้แล้ว เรื่องของอาการป่วยอาจจะเป็นเพียงข้ออ้างในการหลีกเลี่ยงโทษทางวินัย?
   
       
โทษทางวินัยของทางราชการ
   
       สำหรับประเด็นเรื่องของการลงโทษทางวินัยของข้าราชการนั้น นนทิกร กาญจนะจิตรา เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือที่รู้จักกันดีในนาม ก.พ. เล่าให้เราฟังว่า
   
       “การลงโทษทางวินัยนั้นมีตั้งแต่การตักเตือน การลดเงินเดือน ไล่ไปเรื่อยถึงการให้ออกจากราชการ ขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของฐานความผิด ถ้ายิ่งร้ายแรงโทษก็จะยิ่งหนัก คือเรื่องที่ร้ายแรงนั้นก็กำหนดไว้ในกฎหมาย อย่างเช่นการทุจริตในหน้าที่นั้นถือเป็นการผิดวินัยร้ายแรงแน่นอน บางอันมติ ครม. ก็กำหนดไว้อย่างเช่นถ้าขาดราชการโดยไม่มีเหตุอันควร 15 วันต่อเนื่อง ก็เป็นการผิดวินัยร้ายแรงเช่นกัน มันมีกำหนดไว้ทั้งในกฎหมาย ในมติ ครม. และมติ ก.พ.
   
       นนทิกร ยังได้กล่าวถึงกรณีของข้าราชการซี 7 คนนั้นไว้ว่า การพิจารณามันอยู่ที่การสอบสวน และกรรมการวินิจฉัยว่าการกระทำนั้นๆ ก่อให้เกิดความเสียหายหรือเป็นความผิดในระดับใดตามที่ตราไว้ในกฎหมาย
   
       สำหรับ เรื่องของอาการทางประสาทที่ข่าวออกมานั้น มันน่าสนใจว่าเขาป่วยมาก่อนหน้านี้แล้ว หรือเพิ่งมาป่วยเพราะได้รับความกดดันหลังจากเกิดเรื่อง ซึ่งมันทำให้เขาควบคุมตัวเองไม่ได้ ถ้าเป็นกรณีแรกก็พอเข้าใจได้ แต่ถ้าเป็นอย่างหลังก็ไม่น่าจะปรานีเท่าไร
   
       ส่วนประเด็นที่ว่าถ้าคนคนนี้ป่วยมาก่อน เหตุใดจึงรับเขาเข้ามาทำงานนั้น นนทิกรกล่าวว่า ในตอนที่เขาสมัครเข้ามาตอนแรกเขาคงยังไม่ได้ป่วย เพราะถ้าป่วยในตอนสัมภาษณ์งานก็คงจะไม่ผ่าน ส่วนการที่ข้าราชการคนนี้ต้องพักราชการไปรักษาตัว 2 เดือนนั้น มันก็ไม่ได้เข้าข่ายของการลงโทษทางวินัยด้วย
   
       “มันไม่ใช่การลงโทษทางวินัยนะ ซึ่งตรงนี้การลงโทษทางวินัยนั้นมันคนละอย่างกับโทษทางอาญาที่เขาจะได้รับ ด้วย ส่วนเรื่องที่ว่าจะหายป่วยและกลับมาทำงานได้หรือไม่ ก็ต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ถ้าไม่หายขาดก็อาจจะต้องย้ายเขาไปทำงานที่ ไม่มีความกดดันทางอารมณ์ ส่วนตัวแล้วเรื่องแบบนี้ต้องรอคำวินิจฉัยจากแพทย์เป็นสำคัญ
   
       
แล้วแบบไหนถึงจะเรียกว่า ป่วย
   
       แน่นอนว่าไม่มีใครจะอธิบายถึงเรื่องของความป่วยไข้ได้ดีกว่าหมอ ซึ่ง นพ.สินเงิน สุขสมปอง ผู้ อำนวยการสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา อธิบายว่าขอบเขตของความว่า อาการทางจิตนั้นกว้างมากๆ แต่ก็สามารถแบ่งเป็นหมวดหมู่หลักๆ ได้ 2 ประเภทก็คือ เป็นอาการของโรค และเป็นบุคลิกภาพดั้งเดิม ซึ่งสำหรับกรณีของข้าราชการซี 7 ที่มีการระบุว่า ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ก็มีโอกาสเป็นไปได้ทั้ง 2 ทางเช่นนี้ ซึ่งทางที่ดีควรจะได้พิจารณาจากพื้นฐานของประวัติเป็นหลักว่า พฤติกรรมเช่นนี้เพิ่งมาเกิดขึ้นเมื่อไม่นานนี้ หรือเป็นมาตั้งนานแล้ว
   
       “หากเป็นอาการป่วยที่เป็นตัวโรค ผมคิดว่า 2 เดือนก็พอรักษาได้ แต่ถ้าเป็นบุคลิกภาพ เช่น เป็นคนฉุนเฉียวง่าย เข้าสังคมไม่ได้แต่เดิม ก็จะยากหน่อย ไม่เหมือนกับตัวโรคที่จะมาเกิดทีหลัง ไม่ว่าจะเป็นโรคซึมเศร้า หรืออาการของโรคจิต หูแว่วประสาทหลอน การจะรักษาได้ดีมากน้อย ก็ขึ้นอยู่ปัจจัยที่เกี่ยวกับคน และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
   
       สำหรับ กรณีนี้ที่ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ เราก็ต้องไปดูว่า คนคนนี้เขามีปัญหามาตั้งแต่เมื่อไหร่ หากมีมาตั้งแต่ไหนแต่ไร ก้าวร้าวมาตลอดบวกกับปัจจัยอื่นอีกเล็กน้อย แบบนี้น่าจะเป็นบุคลิกภาพ แต่ถ้าเดิมเขาเป็นคนเรียบร้อย ใจเย็น แต่หลายเดือนมานี้เปลี่ยนเป็นคนฉุนเฉียวง่าย ลงไม้ลงมือ ด่าทอบ่อย หรือชกต่อย แบบนี้ก็ต้องสงสัยว่าเป็นตัวโรค
   
       ซึ่งกระบวนการรักษา หลักๆ ก็มีตั้งแต่การกินยา และจิตสังคมบำบัด
   
       “ถ้าเป็นโรคซึมเศร้า ถ้าตอบสนองจากยาใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ ส่วนพวกโรคจิต หูแว่วประสาทหลอนก็เหมือนกัน 3-4 สัปดาห์ก็จะเห็นผล ขนาดที่โรควิตกกังวลประมาณ 1-2 สัปดาห์ก็น่าจะได้ เพราะฉะนั้นเรื่องนี้จึงอยู่ที่แพทย์จะสามารถวินิจฉัยได้ชัดเจน ใช้ยาได้ตรง ขนาดเหมาะสม การรักษาก็จะเร็วขึ้น และสามารถหายขาดได้ แต่ถ้าเกิดจากบุคลิกภาพ ส่วนใหญ่คนที่เป็นจะไม่ค่อยยอมรับ แล้วก็จะมองว่าคนอื่นไม่ดี
   
       
ไม่ฆ่าน้อง ไม่ฟ้องนาย ไม่ขายเพื่อน
   
       แต่จากผลการสอบสวนที่ประกาศออกมาว่าการไปไล่ตบบ้องหูคนนั้น ไม่ใช่ การกระทำผิดวินัยร้ายแรงมัน ก็ทำให้คนหลายคนตั้งคำถามว่า แท้จริงแล้วมันเป็นเรื่องของการปกป้องพวกพ้องหรือไม่ เพราะเท่าที่ผ่านมาคล้ายกับว่าเรื่องของการปกป้องพวกพ้องนั้น มันกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบราชการไปแล้ว ถึงกับมีคำกล่าวที่เราได้ยินกันบ่อยๆ ว่า ไม่ฆ่าน้อง ไม่ฟ้องนาย ไม่ขายเพื่อน
   
       ซึ่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดุษฎี เจริญสุข อาจารย์ ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มองว่า วัฒนธรรมของการปกป้องพวกพ้องที่เกิดขึ้นนั้น เกิดขึ้นเป็นปกติทุกที่ในทุกสังคม และถ้าหากเอาผลประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่ตั้งก็จะส่งผลเสียต่อสังคมได้
   
       “ที่ไหนมันก็มีวัฒนธรรมของการรักพวกพ้อง แต่ถ้าทำแล้วให้มันเกิดความก้าวหน้าเพื่อให้ทำงานเป็นทีมได้มันก็ดี แต่ถ้าเพื่อเอาแต่ผลประโยชน์ส่วนตัวมันก็จะก่อให้เกิดผลเสียได้
   
       เหตุและปัจจัยของการปกป้องพวกพ้องนั้น เธอเห็นว่า มาจากหลายปัจจัยด้วยกันไม่ว่าจะเป็นการมีผลประโยชน์ร่วมกัน การเชื่อว่าพวกพ้องของตนดีจริงจึงช่วยเหลือ ซึ่งอาจเกิดจากการมีข้อมูลไม่มากพอ หรือเคยเห็นบทบาทของเขาในการทำงานเพียงด้านเดียว ซึ่งพฤติกรรมการรักพวกพ้องนั้นก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
   
       ใน แง่ดีก็คือการปกป้องพวกพ้องเพื่อความถูกต้อง แต่ถ้าเกิดจากการเห็นแก่ผลประโยชน์มันก็ไม่ดี จริงๆ แล้วเป็นในทุกสังคม แต่สังคมไทยอาจจะเยอะหน่อย และมันจะมีเยอะในสังคมที่ไม่ค่อยมีเหตุผล โดยวิธีการปกป้องมันก็มีตั้งแต่เรื่องของการช่วยเหลือให้ข้อมูลที่จะช่วยให้ แก้ไขปัญหาได้ เพื่อให้เขาช่วยเหลือตัวเองได้ ให้ข้อคิดเห็นการแนะนำ และอาจจะช่วยเป็นเครือข่ายในการหาคนมาช่วยเหลือวิธีการก็อาจจะมีหลากหลาย และถ้าการปกป้องนั้นทำไปโดยรักแต่พวกพ้องโดยไม่เห็นแก่ส่วนรวม ก็จะทำให้เกิดความไม่ยุติธรรมขึ้นมาในสังคม แล้วถ้าเครือข่ายนั้นเป็นเครือข่ายใหญ่ สังคมก็จะล่มสลายในที่สุด เพราะคนอื่นเขาก็สูญเสียความยุติธรรมที่เขาควรจะได้รับ
   
       และที่ผ่านมาในวงการราชการไทยนั้น ถือได้ว่ามีวัฒนธรรมปกป้องพวกพ้องที่เยอะอยู่ ซึ่งทางออกนั้นอาจจะต้องมองไปที่หลักคุณธรรม หรือธรรมาภิบาลที่เป็นสิ่งสำคัญ
   
       ...........
   
       ก็อย่างที่เห็นๆ กันอยู่ ว่าสุดท้ายแล้ว ความยุติธรรมในสังคมไทยนั้น ยังเป็นเรื่องที่หาได้ยาก คนที่ทำผิด ถ้าหากมีพวกมีเส้นมีสายหรือมีเงินมีอำนาจก็อาจจะไม่ต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ ตัวเองกระทำลงไปอย่างเต็มที่
   
       
อย่า ว่าแต่ในระบบราชการ-  รัฐวิสาหกิจไทยๆ  หรือการเมืองเลย ไม่ว่าจะในระดับท้องถิ่น หรือ  ในระดับชาติก็มีกรณีแบบนี้เกิดขึ้นให้เห็นกันจนเบื่อ ที่ผ่านมากฎหมายขื่อแปของบ้านเมือง มันก็มักจะมีผลบังคับใช้แบบเต็มๆ กับ ตาสีตาสาเท่านั้น ส่วนกับคนใหญ่คนโตนั้นอย่าไปหวังเลยว่าเขาจะกระเทือน  ยิ่งกรมนี้  ด้วยแล้ว...555
 กรมไหนๆก็เช่นกัน  คนใหญ่โกงกิน แล้วก็โยนไปให้คนเล็กๆตาดำๆ รับกรรมไป...ก็แค่นั้น  แล้วก็รอรับเงินเดือน  เกษียณ  ก็รับบำเหน็จ  บำนาญ ต่อไป  ไม่มีอะไรเกิดขึ้น...ระบบราชการ  รัฐวิสาหกิจ เมืองไทย

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ชาวแม่ทะ แห่แจ้งจับ คณะกก.กองทุนหมู่บ้าน บริหาร 8 ปี อุบเงียบ รายรับ- รายจ่าย


      อีกบทบาทของ  เครือข่ายภาคประชาชน

-ลำปาง - ชาวบ้านแม่ทะ เรียงแถวขึ้นโรงพักเข้าแจ้งความดำเนินคดีกรรมการกองทุนหมู่บ้าน หลังบริหารงาน 8 ปี ไม่เคยชี้แจงรายรับ - รายจ่าย บอกเคยร้องเรียนต่อ นอภ.และพัฒนาการอำเภอแล้ว แต่เรื่องยังเงียบ
       
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสงัด อินทะนะ อยู่บ้านเลขที่ 29/3 หมู่ 4 ต.นากว้าว อ.แม่ทะ จ.ลำปาง ประธานกลุ่มธรรมาภิบาลบ้านนากว้าว(กิ่ว) พร้อมด้วยตัวแทนชาวบ้านอีก จำนวน 70 คน ได้เข้าแจ้งความต่อ ร.ต.ท.กฤตเมธ ทาคำ พนักงานสอบสวน สภ.แม่ทะ เพื่อให้ดำเนินคดีต่อนายเกวี๋ยน สายวงศ์ฟั่น ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านนากว้าว พร้อมพวก จำนวน 13 คน โดยกล่าวหาว่า บริหารงานกองทุนฯโดยมิชอบ ขัดต่อระเบียบข้อบังคับที่กำหนดไว้
       ทั้งนี้ เนื่องจากตลอดระยะเวลาเกือบ 10 ปี คณะกรรมการฯชุดนี้ไม่เคยเรียกประชุมหรือชี้แจงสถานะทางการเงินของกองทุนฯให้สมาชิกได้รับทราบเลย แม้จะเคยทวงถามและเรียกร้องให้ประธานกรรมการและผู้เกี่ยวข้องเรียกประชุมชี้แจงสถานะทางการเงิน รายรับ-รายจ่าย การจ่ายเงินปันผล และอื่น ๆ มาหลายครั้ง แต่สมาชิกไม่เคยได้รับคำชี้แจงหรือคำตอบที่ชัดเจน
       นอกจากนี้ ตนได้เคยทำหนังสือถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งพัฒนาการอำเภอ และนายอำเภอแม่ทะ กระทั่งมีการแต่งตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงครั้งล่าสุดเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา กระทั่งขณะนี้ก็ไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการกองทุนฯ จะเข้าชี้แจงรายละเอียดสถานะการเงินให้คณะกรรมการที่อำเภอแต่งตั้งแต่อย่างใด
        จากการตรวจสอบบัญชีธนาคารที่กองทุนฯมีเงินฝาก นับแต่คณะกรรมการชุดที่มีนายเกวี๋ยน และพวกเข้าบริหาร ตั้งแต่ปี 2547 ปรากฏว่า มีเงินฝากอยู่ในบัญชี เป็นเงิน 1,500,000 บาท แต่พบรายการเบิกจ่าย และนำเข้า น่าสงสัย คือในปี 2549 เบิกจ่ายเงินปันผล จำนวน 54,000 บาท ปี 2550 เบิกจ่ายเงินปันผล จำนวน 59,671 บาท ปี 2551 เบิกจ่ายเงินปันผล จำนวน 47,212 บาท ปี 2552 เบิกจ่ายเงินปันผล จำนวน 51,000 บาท และปี 2554 เบิกไปใช้ดอกเบี้ยให้แก่สมาชิก จำนวน 30,000 บาท ทั้งๆที่สมาชิกไม่เคยได้รับเงินปันผลในปีที่ระบุแต่อย่างใด
       นอกจากนี้ ยังมีการนำดอกผลจากการบริหารเงิน กองทุนของคระกรรมการชุดนี้ ไปใช้จ่ายเงินไปเพื่อการต่าง ๆ หลายรายการ เช่น จ่ายเป็นเงินค่าตอบแทน เป็นทุนการศึกษา เป็นต้น ซึ่งเมื่อสมาชิกขอตรวจสอบและให้มาชี้แจง ก็ไม่สามารถชี้แจงได้จนถึงปัจจุบัน
       สมาชิกจึงได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ไว้ต่อพนักงานสอบสวน สภ.แม่ทะ โดยเบื้องต้นกล่าวหาว่า ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และจะดำเนินการตรวจสอบร้องเรียนไปยังสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี และผู้ตรวจการแผ่นดินฯ เพื่อให้ดำเนินการตามกฎหมายและเรียกเงินในส่วนที่ขาดหายไปกลับคืนสู่กองทุนหมู่บ้านบ้านนากว้าว หมู่ 4 อ.แม่ทะ จ.ลำปางต่อไป พร้อมทั้งเรียกร้องให้แสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออก
       นายสุรพันธุ์ ตรีมงคล นายอำเภอแม่ทะ กล่าวว่า ขณะนี้ได้แต่งตั้งคณะกรรมการทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐและตัวแทนชาวบ้าน สอบสวนข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวแล้ว ซึ่งก็น่าสงสัยว่าทำไม จึงไม่มีการเรียกประชุม ชี้แจงรายรับ-รายจ่าย และการทำบัญชีงบดุลเลย กลายเป็นข้อสงสัยของสมาชิก ถือเป็นเรื่องที่ดีที่ชาวบ้านตรวจสอบกันเอง เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นชุมชน
       อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นจำนวนเงินกองทุนที่เป็นเงินต้นยังคงอยู่ครบ คือจำนวน 1,500,000 บาท ถือว่ารัฐยังไม่เสียหาย แต่มีความบกพร่องในการบริหารงานของคณะกรรมการที่จะต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ และสามารถชี้แจงรายรับ-รายจ่าย ตอบข้อสงสัยของสมาชิกได้ ซึ่งตนจะให้โอกาสคณะกรรมการกองทุนฯทำบันทึกชี้แจงให้เสร็จภายในวันศุกร์ที่ 17 ก.พ. และหากทุกอย่างตกลงกันได้ ไม่มีความขัดแย้งต่อไป คณะกรรมการชุดนี้ควรจะแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออก
                                                                  กองเลขานุการ เครือข่าย ป.ป.ช ภาคประชาชน  จ.ชลบุรี

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กสทช.บีบค่ายมือถือกำหนดวันหมดอายุพรีเพดใหม่ใน 30 วัน



        กสทช. เผยหลังหารือค่ายมือถือ เร่ง 30 วันรู้ผลวันหมดอายุของการเติมเงินขั้นต่ำพรีเพดกี่วัน เตรียมปรับการจัดเก็บข้อมูลลูกค้าพรีเพดโดยเรียกเก็บเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลักแทน ส่วนบริการคงสิทธิ์เลขหมายค่ายมือถือจะเร่งขยายบริการให้มากขึ้น พร้อมยุบ 2 คณะอนุฯที่เสร็จภารกิจแล้ว
          พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมระหว่างบอร์ด กทค. กับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 5 ราย และตัวแทนผู้บริโภค วันนี้ (8 ก.พ.) ในประเด็นระยะเวลาหมดอายุของโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเติมเงิน (พรีเพด) การลงทะเบียนซิมการ์ด รวมถึงประเด็นการบริการคงสิทธิ์เลขหมาย (MNP : Mobile Number Portability)
          โดยที่ประชุมยังไม่ได้ข้อสรุปแต่มีแนวทางในการดำเนินการในช่วงรอความชัดเจนอีกครั้งโดย เบื้องต้นการปรับกฎเกณฑ์เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ ทางกทค.จะให้ค่ายมือถือกลับไปจัดทำข้อมูลต้นทุนก่อนส่งกลับมายังกทค.อีก ครั้งภายใน 7 วัน เพื่อนำมาหารือร่วมกันอีกครั้ง
          ขณะ ที่่ในประเด็นการกำหนดวันหมดอายุพรีเพดนั้น ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนในที่ประชุม ซึ่งในระหว่างนี้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือพรีเพด ที่กำลังจะหมดอายุการใช้งานภายในสัปดาห์นี้ จะสามารถใช้งานต่อได้อีก 30 วันโดยอัตโนมัติก่อน
          เนื่องจากทาง กทค.จะต้องนำข้อมูลที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือส่งกลับมายังกทค.เพื่อ วิเคราะห์ และนำมาแก้ไขประกาศ เรื่องมาตรฐานสัญญาโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ในข้อ 11 การห้ามกำหนดระยะเวลาการใช้บริการโทรคมนาคมแบบบัตรเติมเงิน โดยทางกทค.จะต้องเร่งกำหนดวันเวลาหมดอายุให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน
           “ปัจจุบันผู้ใช้โทรศัพท์มือถือแบบบัตรเติมเงินในประเทศมีประมาณ 63.4 ล้านเลขหมาย จากยอดผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั้งหมด 70 ล้านเลขหมาย  นายทุนกินเงียบ  กสทช.  ทำอะไรอยู่ค่ะ
    
       สำหรับระยะเวลาวันหมดอายุของการเติมเงินขั้นต่ำของมือถือแบบเติมเงิน ในท้องตลาดตอนนี้ได้แก่ 30 บาทมีอายุอยู่ได้ 3 วัน 300 บาท อยู่ได้30วัน โดยมีตัวเลขเฉลี่ยการใช้งานโทรศัพท์มือถือแบบเติมเงินอยู่เดือนละ 200 บาท
    
       นอก จากนี้ในการจัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือแบบบัตรเติมเงิน (พรีเพด) นั้นกทค. มีแนวทางที่จำเป็นต้องปรับปรุงระบบการจัดเก็บข้อมูลใหม่ โดยการใช้วิธีการลงทะเบียนผ่านหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลักแทนการจัดเก็บเอกสาร ซึ่งถือว่าเพียงพอต่อการจัดเก็บข้อมูลเพื่อความมั่นคง
    
       ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบันการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้โทรศัพท์มือถือใน ระบบพรีเพดเป็นไปอย่างหละหลวม มีการใช้โทรศัพท์มือถือหลอกลวงประชาชน ใช้ก่ออาญชกรรม ซื้อขายยาเสพติด ซึ่งทั้งหมดไม่สามารถสืบหาต้นตอของเจ้าของโทรศัพท์มือถือได้
    
       ส่วนประเด็นการให้บริการคงสิทธิเลขหมายนั้น ทางผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 5 ราย แจ้งต่อกทค.ว่าจะขยายบริการให้เพิ่มมากขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าที่ต้องการโอนย้ายบริการแต่เลขหมายคงเดิม แต่ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนแต่อย่างใด โดยคาดว่าจะมีการหารืออีกครั้งหนึ่งในเรื่องดังกล่าว
    
       อีกทั้งบอร์ด กทค.ยังการพิจารณายุติบทบาทของคณะอนุกรรมกรรม 2 ชุด คือ คณะอนุกรรมการเพื่อศึกษามาตรา 46 และคณะอนุกรรมการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและวางกรอบอัตรากำลังสำนักงานกสทช. เนื่องจากเสร็จสิ้นภารกิจแล้ว รวมถึงยังเป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของกสทช.ด้วย
        เงินผู้บริโภค   ค่ายมือถือ-กำหนดวันหมดอายุ เขาได้ไง???  กสทช.  กินเงินภาษี  แล้ว ช่วยผู้บริโภค บ้างเด้อ...ผู้บริโภค รออยู่ นะ...หรือ เราจะรอ ผนึกกำลังเครือข่าย ป.ป.ช ภาคประชาชน ทั่วประเทศช่วยไหวไหมเนี่ยะ...คือ ร่วมกันฟ้อง ศาลปกครองเลยดีไหม??? ค่ายมือถือ มากำหนดวันหมดอายุเราได้ไง...ยอมไหมผู้บริโภค???
                                                         เครือข่าย ป.ป.ช ภาคประชาชน จ.ชลบุรี รายงาน

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

สว. รสนา เชื่อขายหุ้นปตท.แค่ข้ออ้าง รัฐ


รสนาเชื่อขายหุ้นปตท.แค่ข้ออ้างรัฐ
         รสนา เชื่อรัฐบาลคิดขายหุ้น ปตท. เพื่อลดหนี้สาธารณะ เป็นแค่ข้ออ้าง ชี้ขายแค่2%ไม่สามารถลดหนี้ได้มากนัก
       นางรสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภา กล่าวในงาน เปิดหู เปิดตา พลังงานไทย (ขายหุ้น ปตท.คนไทยได้หรือเสีย) ที่พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ว่า แนวคิดขายหุ้นปตทเพิ่ม. 2% เพื่อลดหนี้สาธารณะนั้น เป็นเพียงข้ออ้าง โดยลดหนี้สาธารณะได้ไม่มากนัก แต่เป็นความพยายามที่จะทำให้ปตท.พ้นการเป็นรัฐวิสาหกิจ เพื่อหนีในเรื่องเหล่านี้คือเมื่อยังคงเป็นรัฐวิสาหกิจ จะต้องปฏิบัติภายใต้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้าง และถูกตรวจสอบโดยสตง.และรัฐสภา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการถูกดำเนินคดีทางอาญา ในมาตร 157 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐกระทำ หรือไม่กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายกับรัฐ  ซึ่งหากมีการกระทำในสิ่งที่เป็นความ
นางรสนา กล่าวอีกว่าขณะนี้กองทุนวายุภักษ์ เป็นกองทุนปิด แต่ในปี2556 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่กำหนดให้เป็นกองทุนเปิด ระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ แม้รัฐบาลจะเป็นผู้ซื้อหน่วยลงทุนมากที่สุด แต่จะไม่มีอำนาจในการกำกับกองทุน การกำหนดนโยบายด้านพลังงานผ่านกองทุนทำไม่ได้  จึงเป็นเหมือนปล่อยทรัพย์สมบัติชาติให้หลุดมือ ทั้งนี้พลังงานถือเป็นยุทธปัจจัยที่มีผลต่อความมั่นคงของประเทศทั้งทาง เศรษฐกิจ สังคมและความเป็นอยู่ของประชาชน ที่เราไม่สามารถไว้ใจนักการเมือง ซึ่งการแปรรูปปตท.ในครั้งแรก ที่เป็นการขายทรัพย์สินประเทศในราคาถูก และรับปากที่รัฐบาลจะถือหุ้นในสัดส่วน 75% ขายในตลาดหุ้น 25% ที่นักการเมืองและพวกพ้องที่ถือหุ้น และต่อมามีการทยอยปล่อยขายเหลือเพียง 51% การที่จะให้กองทุนวายุภักษ์ซื้ออีก 2% จึงถือเป็นการแปรรูปครั้งที่ ที่เราจะยอมไม่ได้
ขณะที่ นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเงา กล่าวในงานเสวนาขายหุ้น ปตท. คนไทยได้หรือเสีย ว่า ถือเป็นการขายสมบัติชาติ ครั้งที่ 2 ซึ่งไม่สามารถยอมรับได้ โดยพรรคประชาธิปัตย์จะคัดค้านและเห็นว่า ประเทศไทยต้องมีบริษัทน้ำมันแห่งชาติ เพื่อดูแลประชาชน และแก้ปัญหาพลังงานในอนาคต ซึ่งถือเป็นความมั่นคงของประเทศ และจำเป็นต้องปฎิรูปนโยบายพลังงานทั้งหมดอย่างเป็นระบบ โดยให้มีคณะกรรมการกำกับเช่นเดียวกับด้านกิจการโทรคมนาคม
นายอลงกรณ์ กล่าวอีกว่าในเรื่องนี้มีการหยิบยกเหตุผลในเรื่องลดหนี้สาธารณะ แต่ตนเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีวาระผลประโยชน์ซ้อนเร้น ที่ต้องการหาผลประโยชน์จากแผนการลงทุนของบริษัท ปตท. จำนวน 3.5  ล้านบาท ในระยะเวลาอันใกล้นี้ รวมทั้งมีการหาผลประโยชน์จากแหล่งพลังงานในพื้นที่ทับซ้อนประเทศกัมพูชา โดยใช้บริษัท ปตท. เป็นจุดขายและต้องการกินรวบกิจการพลังงานทั้งระบบ ซึ่งเมื่อปตท.พ้นจากการเป็นรัฐวิสาหกิจแล้ว ย่อมพ้นจากการถูกตรวจสอบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจัดซื้อจัดจ้าง หรือการแสวงหา แบ่งปันผลประโยชน์ในกลุ่มพวกพ้องหรือ ป.ป.ช ว่าไง....


วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555

สวัสดีปีใหม่ แก่ทุกท่าน ทุกครัวเรือน ในวาระปีใหม่ ๒๕๕๕

ขออำนวยพรให้ทุกท่านที่ คิดดี ทำดี  มีแต่  ความสุข ความเจริญ  ปลอดภัย  ไร้โรคา ตลอดปี ๒๕๕๕

                   ขอพระองค์ทรงพระเจริญ  ยิ่งยืนนาน 
                                                   
                                                       ขอเดชะ 
                                                    ข้าพระพุทธเจ้า
                                                    เครือข่ายภาคประชาชน ป.ป.ช ชลบุรี  

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ขอแสดงความชื่นชม ความสุจริต โปร่งใส ของชุมชนบ้านตลาดควาย อ.พานทอง จ.ชลบุรี

       ขอขอบคุณ ชาวชุมชน บ้านตลาดควาย หมู่ ๕  ที่ มอบความใว้วางใจ  ต่างทุ่มเทความมุ่งมั่น  เลือกผู้ใหญ่บ้าน - ตัวแทนของท่าน ด้วยความ ซื่อสัตย์ -สุจริต - โปร่งใส -บริสุทธิ์   อย่างสมความภาคภูมิใจ แก่ท้องถิ่น  ความโปร่งใส เริ่มต้นจาก เรา...ประชาชน สู่ท้องถิ่น
                          
                             เครือข่ายประชาชน  ป.ป.ช  - จ.ชลบุรี 
                         "บริการสะดวก ใกล้ชิด ขจัดทุจริตใกล้บ้าน"

วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ทรงพระเจริญ

       ขอพระองค์ทรงพระเจริญ  ยิ่งยืนนาน

                                                                      *******************************                                        
                                    ด้วยเกล้า  ด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
                                              ข้าพระพุทธเจ้า
                                                                       คณะกรรมการ เครือข่ายภาคประชาชน  ป.ป.ช. -จ.ชลบุรี