วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เครือข่ายภาคประชาชนป้องกันการทุจริต จ. ชลบุรี เชิญชวนไปเลือกตั้ง....

เครือข่ายภาคประชาชนป้องกันการทุจริต จ. ชลบุรี  ขอเชิญชวน ญาติโยม  หมู่มิตร  ประชาชน ไปลงคะแนนเลือกตั้ง
"เลือกคนที่รัก  เลือกพรรค ที่ชอบ  ไม่ชอบใครก็ กา X โหวตโน..."
 - ๑ คนกาได้ ๒ ใบ  ใบหนึ่ง กาผู้สมัคร  อีกหนึ่งใบกาพรรคการเมือง ที่เราชอบ 
 - อย่าลืม  วันที่ ๓  กค.๒๕๕๔  เวลา ๐๘.๐-๑๕.๐๐ น. ออกจากบ้านไป  ลงคะแนนใช้ สิทธิ มิเช่นนั้น ผี จะมากาคะแนน ให้ท่านนะ ....ซิบอกหั่ย
 - ชลบุรี มี สส.ได้  ๘  คน  คือ มี ๘ เขตการเลือกตั้ง
                   *************
... ชลบุรี เป็นของทุกคน  จึงขอให้ไปใช้ สิทธิ  ของเรา...อย่างภาคภูมิใจ ...

วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การขับเคลื่อน ของ องค์กร เครือข่ายภาคประชาชนป้องกันการทุจริต จ. ชลบุรี

                          แกนนำ องค์กรเครือข่ายป.ป.ช อ.พานทอง -และเครือข่าย จ.ชลบุรี
                                            และ  แกนนำ "คนรักษ์พานทอง"
       เชิญคุณสุทธิ อัฒฌาศัย แกนนำเครือข่ายสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ขึ้นเเสดงวิสัยทัศน์ร่วมคัดค้า

             พลังของการมีส่วนร่วม เวทีการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคประชาชน จากพื้นที่ต่างๆ 
        และ เครือข่ายคนรักษ์พานทอง  ร่วมเวทีต่อต้านการละเมิด สิทธิชุมชน ณ อำเภอพานทอง


แกนนำ ภาคีเครือข่ายต่างๆขึ้นเวทีแสดงการคัดค้านการ ละเมิด สิทธิชุมชน
ในการขยายพื้นที่ของ  นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร...
**********************

ร่วมเวทีเสวนา เพื่อร่วมแสดงการคัดค้าน การละเมิดสิทธิชุมชน

เวทีเสวนาเพื่อแสดงการคัดค้าน การละเมิดสิทธิชุมชน
ร่วมกับ เครือข่ายคนรักษ์พานทอง

 การมีส่วนร่วมของ ภาคส่วนต่างๆ ในการแสดงการคัดค้าน การละเมิดสิทธิชุมชน
การขยายพื้นที่ของ นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร 

เวทีเสวนาของเครือข่าย ภาคประชาชน ป.ป.ช   จ.ชลบุรี

คณะกรรมการ  ป.ป.ช  แห่งชาติ  ผู้สนับสนุนการขับเคลื่อน 
ของเครือข่าย ป.ป.ช  ภาคประชาชน ฯ จ.ชลบุรี
*******************************
ความเคลื่อนไหว ของ องค์กรเครือข่ายภาคประชาชนป้องกันการทุจริต จ. ชลบุรี

             เพื่อการมีส่วนร่วม องค์กรเครือข่ายภาคประชาชนป้องกันการทุจริต อำเภอพานทอง ร่วมกับ องค์กรเครือข่ายภาคประชาชนป้องกันการทุจริต ทุกอำเภอ  ใน จ. ชลบุรี  -แกนนำเครือข่าย "คนรักษ์พานทอง"   ได้ทำการจัดเวที เพื่อขับเคลื่อน เรื่อง  สิทธิชุมชน  ในเขตพื้นที่ อำเภอพานทอง -อำเภอพนัสนิคม จ.ชลบุรี และใกล้เคียง เช่น อำเภอบ้านโพธิ์ -อำเภอบางปะกง  จ.ฉะเชิงเทรา กับ ภาคีต่างๆ  ทั้งภาคีเครือข่าย กสิกรรมธรรมชาติแห่งประเทศไทย ,พระ - วัดในท้องถิ่น  ,มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ , องค์กรในท้องถิ่น  ผู้ใหญ่บ้าน  -กำนัน , อบต. ,ครู - โรงเรียน   ประชาชน - ผู้บริโภค   กว่า 200  คน ณ  ศาลาประชาคมวัดหนองอ้อ
             เนื่องจาก ชุมชน ดังกล่าว ได้ถูกละเมิด สิทธิ  จากนิคมอุตสาหกรรมอมตนคร จ.ชลบุรี  ได้ทำการขยายพื้นที่ โดยการกว้านซื้อที่ดิน  จำนวน 6,600  ไร่ เพื่อขยายตั้งนิคมอุตสาหกรรม โดยไม่มีการทำประชาพิจารย์  ประชาสัมพันธ์ - สอบถาม  ให้ชุมชนทราบ ทั้งที่เขตพื้นที่ดังกล่าว ตามพรบ.ผังเมืองเดิม  ม.๒๗ เป็นพื้นที่สีเขียว การกระทำดังกล่าว ทำให้เกิดผลกระทบ  ต่อชุมชน  อย่างมาก  ทำให้เกิดผลกระทบต่อ  วิถีชีวิต ของชุมชน  ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม  แหล่งทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ที่สุดของ พื้นที่ จ.ชลบุรี –ฉะเชิงเทรา และ ภาคตะวันออก ก็ว่าได้  ซึ่งชุมชน แห่งนี้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ  ทำมาหากินด้วยการประกอบอาชีพการเกษตร  มายาวนาน เป็นแหล่งรวมสายน้ำอันอุดมสมบูรณ์   จากทั่วทั้งจังหวัดชลบุรี –ฉะเชิงเทรา  ไหลบ่ามารวมที่นี่ ทำให้เกิดแหล่งทรัพยากร  ที่สำคัญยิ่ง
         องค์กรเครือข่ายภาคประชาชนป้องกันการทุจริต อำเภอพานทอง และแกนนำ กลุ่มคนรักษ์พานทอง  จึงเชิญภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน  ตลอดจนภาคีเครือข่าย  องค์กร ต่างๆ  ทั้งจ.ชลบุรี –ฉะเชิงเทรา-ระยอง-จันทรบุรี –ตราด-ปราจีนบุรี-นครนายก  มาร่วมเวทีเสวนา -แสดงความคิดเห็น  และ มีความเห็นร่วมกันโดย แสดงพลังคัดค้าน  การขยายพื้นที่ของ นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร  จนถึงที่สุด
              " อย่า....เเสวงหาผลประโยชน์  ท่ามกลางการทำลายทรัพยากร  อันมีค่าของชุมชนและประเทศชาติ เพียงเพื่อประโยชน์ของคนไม่กี่คน  ขอให้มีความละอาย บ้างนะ  บาปกรรมมันมีจริงนะ..ไม่เชื่ออย่าลบหลู่   นะซิบอกหั่ย...  '

วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ยุทธศาสตร์ปฎิรูปประเทศไทย ....อีกวาระของ เครือข่ายภาคประชาสังคม

ยุทธศาสตร์เพื่อปฏิรูปประเทศไทย 10 ข้อ 

ของอ.ประเวศ วะสีและเครือข่ายสถาบันทางปัญญา เป็นแนวคิดที่ควรจะช่วยกันวิจัยและพัฒนา ต่อ
1. สร้างจิตสำนึกใหม่ ปรับจิตสำนึกและวิธีคิดใหม่ ออกจากการดูถูกตัวเองว่าต่ำต้อย เป็นไพร่เป็นข้าภายใต้ระบบอุปถัมภ์ ไปสู่สำนึกใหม่ในเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีศักยภาพที่จะทำอะไรดี ๆ ขยันขันแข็ง พึ่งตนเองได้ เปิดเผย จริงใจ ใช้เหตุใช้ผล ใช้ความรู้ ร่วมมือกันสร้างสรรค์ชุมชน ท้องถิ่น สังคม และประเทศให้เป็นประเทศที่น่าอยู่ที่สุด’

ผมเห็นว่าการจะสร้างจิตสำนึกใหม่ได้ต้องกล้าท้าทายจิตสำนึกเก่าและอธิบายให้ คนทั่วไปเข้าใจว่าจิตสำนึกเก่าทำให้สังคมไทยมีปัญหาอย่างไร ปัญหาจริงคือ จิตสำนึกเก่า(จารีตนิยม, ระบบอภิสิทธิชนนิยม-คนบางคนมีสิทธิเหนือคนอื่น) ยังคงตกค้างอยู่มากแม้ในหมู่ปัญญาชน ส่วนจิตสำนึกใหม่ (เสรีนิยม, สังคมนิยมประชาธิปไตย)ยังพัฒนาได้น้อยมาก เรายังคิดและอภิปรายแยกแยะว่าอะไรเก่าอะไรใหม่ได้ไม่ชัดเจน(เช่นกลุ่มที่ เสนอสร้างการเมืองใหม่ แนวคิดบางเรื่องยังจารีตนิยมมาก) ต้องสร้างเวทีที่เปิดกว้าง เตรียมคนให้พร้อมจะเรียนรู้ รับฟังและอภิปรายว่าอะไรใหม่อะไรเก่ากันอย่างคำนึงถึงเหตุผลและอย่างมีวุฒิ ภาวะ โดยไม่ติดกับการใช้อารมณ์ผูกพันหรือใช้แนวคิดสุดโต่งแบบ 2 ขั้ว
2. สร้างสัมมาชีพเต็มพื้นที่ สร้างอาชีพที่ไม่เบียดเบียนตัวเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่เบียดเบียนสิ่งแวดล้อม และมีรายจ่ายน้อยกว่ารายได้ รวมเศรษฐกิจ จิตใจ สังคม สิ่งแวดล้อมและศีลธรรมเข้ามาด้วยกัน เมื่อมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่จะเกิดความสงบสุข สัมมาชีพเต็มพื้นที่จึงควรเป็นเป้าหมายและดัชนีวัดการพัฒนา ไม่ใช่จีดีพี’
ผมเห็นว่าประเด็นสำคัญไม่ใช่แค่ส่งเสริมให้คนมีงานที่สุจริตทำอย่าง ทั่วถึงเท่านั้น เพราะถึงคนส่วนใหญ่จะมีสัมมาชีพ แต่หากยังเป็นได้แค่แรงงาน เกษตรกรในระบบพันธะสัญญา ผู้ประกอบอาชีพอิสระรายย่อยฯลฯ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมผูกขาดที่เอาเปรียบ นั่นก็ยังไม่ทำให้เกิดความสงบสุขได้ ประชาชนควรเป็นเจ้าของหรือผู้ควบคุมปัจจัยการผลิตร่วมกัน และมีงานที่ให้ผลตอบแทนอย่างเป็นธรรมด้วย ดังนั้นจึงจะต้องปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจแบบทุนนิยมผูกขาดให้เป็นแบบ สังคมนิยมประชาธิปไตย, แบบสหกรณ์ แบบรัฐสวัสดิการฯลฯ จึงจะสร้างสังคมที่เป็นธรรมและสงบสุขได้
’3. สร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น กระจายอำนาจไปให้ชุมชนท้องถิ่นพัฒนาตัวเองทุกด้านอย่างเต็มที่ และสนับสนุนทุก ๆ ทาง ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็งทุก ๆ ด้านจะเป็นฐานให้ประเทศเข้มแข็งและมั่นคง หากชุมชนท้องถิ่นมีสิทธิที่จะพัฒนาตนเองให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่นอัน แตกต่างจากหลากหลาย ความขัดแย้งรุนแรงจะบรรเทาบางลง’
ตัวการที่ทำให้ท้องถิ่นอ่อนแอไม่ใช่แค่ระบบราชการรวมศูนย์ แต่คือระบบทุนนิยมผูกขาดที่รวมศูนย์ความมั่งคั่งมาอยู่ที่นายทุนและนาย ธนาคาร นายทุนจากเมืองหลวงการจะให้ชุมชนเข้มแข็งได้ จะต้องขจัด/ลดอำนาจทุนผูกขาด กระจายทรัพยากร กระจายทุน ความรู้ การจัดตั้งองค์กร ไปสู่ประชาชนในระดับชุมชนอย่างเป็นธรรม ด้วยการสร้างระบบสหกรณ์ผู้ผลิตผู้บริโภค และสหกรณ์ออมทรัพย์(เครดิตยูเนียน, กลุ่มสัจจะออมทรัพย์ฯลฯ)ในระดับชุมชน(และพัฒนาเป็นเครือข่ายระดับชาติด้วย) ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ในชุมชนพึ่งตัวเองทางเศรษฐกิจสังคมได้เพิ่มขึ้น ดูแลทรัพยากรและเก็บภาษีในชุมชนได้เอง ทำชุมชนสวัสดิการเอง ลดการพึ่งระบบทุนและราชการส่วนกลาง จากภายนอกลง
4. สร้างระบบการศึกษาที่พาชาติออกจากวิกฤติ ทุกคน ทุกองค์กร ทุกพื้นที่ ทุกภาคส่วน ทุกเรื่อง ต้องเป็นไปเพื่อการเรียนรู้ เรียนรู้ที่จะสร้างจิตสำนึกใหม่ ที่จะปลุกศักยภาพแห่งความเป็นมนุษย์ ที่จะสร้างสมรรถนะในการสร้างสรรค์ทั้งในระดับบุคคล องค์กร และสังคม ให้ชาติทั้งชาติเต็มไปด้วยความกระตือรือล้น และพลังแห่งความสร้างสรรค์’
ยุทธศาสตร์ที่จะปฏิรูปการศึกษาให้มีคุณภาพขึ้นได้จริง คือการเพิ่มบทบาทของภาคประชาชนและลดอำนาจบทบาทกระทรวงศึกษาลง การจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายหลักประกันการให้การศึกษาที่มีคุณภาพ ที่มีตัวแทนจากครูอาจารย์ พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชน ปัญญาชน นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิตั้งแต่ระดับชาติถึงระดับท้องถิ่น เข้ามาเป็นคณะทำงานปฏิรูปการศึกษาร่วมกับภาครัฐ โดยให้ภาคประชาชนมีอำนาจใกล้เคียงกับภาครัฐ มีสำนักงานประกันการให้บริการศึกษาแห่งชาติที่เป็นองค์กรมหาชน(แบบสำนักงาน ประกันสุขภาพแห่งชาติ)ทำหน้าที่แทนกระทรวง กระจายงบประมาณ อำนาจสู่ชุมชน สถานศึกษาโดยตรง รวมทั้งสนับสนุนกลุ่มองค์กรต่าง ๆ จัดการศึกษาได้อย่างหลากหลายและแข่งขันกันในเชิงคุณภาพ โดยรัฐจัดสรรงบส่วนหนึ่งเป็นการจ่ายคูปองการศึกษาไปที่ตัวผู้เรียนโดยตรง
5. สร้างธรรมาภิบาลในทางการเมือง การปกครอง ระบบความยุติธรรม และสันติภาพ เพื่อจะได้ธำรงบูรณาภาพและดุลยภาพของประเทศ หลีกเลี่ยงวิกฤติและทำให้ประเทศเจริญรุดหน้า’
ปัญหาหลัก คือ ประชาชนยากจน ขาดการศึกษาข้อมูลข่าวสาร ขาดจิตสำนึกและการรวมกลุ่มทางสังคม คิดแบบยอมจำนน หวังพึ่งคนมีอำนาจ จึงต้องปฏิรูปเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญและกฎหมายต่าง ๆ จัดประชุมให้การศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการและการจัดตั้งองค์กรให้ภาคประชาชน เข้มแข็งขึ้นเป็นด้านหลัก เน้นปฏิรูปจากข้างล่างขึ้นข้างบน
’6. สร้างระบบสวัสดิการสังคมที่ก้าวหน้า ที่ไม่ใช่การแจกการให้อย่างเดียว แต่คำนึงถึงศักดิ์ศรี และศักยภาพแห่งความเป็นมนุษย์ที่จะสร้างสรรค์ พึ่งตนเอง พึ่งกันเอง รวมตัวกันจัดการเองได้ในเรื่องต่าง ๆ รวมทั้งระบบการเงินของภาคประชาชน’
ต้องปฏิรูประบบเศรษฐกิจทุนนิยมแบบผูกขาดให้เป็นสังคมนิยมประชาธิปไตย หรือระบบผสม คือยังคงมีระบบทุนนิยมเอกชน ระบบตลาดรวมอยู่ด้วย แต่ต้องขจัดการผูกขาดของทุนใหญ่ ธุรกิจใหญ่ที่จำเป็นและส่งออกได้ให้คงอยู่ต่อไปได้ แต่ต้องเสียภาษีในอัตราสูง ต้องเคารพกฎหมายแรงงานและสภาพแวดล้อม ขณะเดียวกันรัฐต้องเน้นการส่งเสริมธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม สหกรณ์ผู้ผลิตผู้บริโภค(วิสาหกิจชุมชน)การแข่งขันและการค้าที่เป็นธรรม การพิทักษ์สิทธิของแรงงานและผู้บริโภค
7. สร้างสมดุลของสิ่งแวดล้อมและพลังงาน จะต้องสามารถอนุรักษ์และเพิ่มพูนสิ่งแวดล้อม มีการใช้อย่างเป็นธรรม มีการแสวงหาและให้พลังงานอย่างที่จะธำรงบูรณาภาพและดุลยภาพของประเทศ’
ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมคือ ปฏิรูปปตท. กฟผ.และรัฐวิสาหกิจด้านพลังงานอื่น ๆ ให้เป็นของส่วนรวม ทำเพื่อส่วนรวม มากกว่าแค่เป็นบริษัทธุรกิจเอกชนที่รัฐถือหุ้นใหญ่ แต่ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นเอกชนได้ผลประโยชน์มากกว่าประชาชน เปลี่ยนแปลงสัญญาเพิ่มค่าสัมปทานที่บริษัทนายทุนมาขุดน้ำมันและแก๊สของเราไป ใช้ พัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ ลมฯลฯ ออกกฎหมายบังคับให้รถทุกคันต้องติดเครื่องกรองไอเสียแบบในสิงคโปร์และประเทศ อื่น ออกพันธบัตรและจัดตั้งกองทุนทรัสตีเพื่อรักษาและปลูกสวนป่า โดยเวนคืนและซื้อที่ดินมาปลูกต้นไม้ใหญ่ โดยควรทำให้เป็นหน่วยงานอิสระ เพราะระบบราชการ เช่นกรมป่าไม้หรือทรัพยากรยังมีข้อจำกัดอยู่มาก
8. สร้างระบบสุขภาพเพื่อสุขภาวะของคนทั้งมวล การปฏิรูประบบสุขภาพ มีความก้าวหน้ามากกว่าภาคส่วนอื่น ๆ และมีการสร้างเครื่องมือใหม่ ๆ ไว้มาก เช่น สวรส. สสส. สปสช. สช.’
ดัชนีการพัฒนามนุษย์ของประเทศไทยอยู่อันดับที่ 81 ของประเทศทั่วโลก (ปี 2549) สาธารณสุขไทยยังมีอะไรต้องปฏิรูปอีกมาก เช่นต้องผลิตแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มขึ้น กระจายออกไป อำเภอรอบนอกในต่างจังหวัดมากขึ้น ลงทุนด้านเสริมสร้างสุขภาพและป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ ลดมลภาวะ ป้องกันอุบัติเหตุรถยนต์ ความปลอดภัยในที่ทำงานฯลฯอย่างจริงจัง
9. สร้างการวิจัยยุทธศาสตร์ชาติ ในสภาวะที่ซับซ้อนอันเชื่อมโยงกันหมดทั้งโลก เราต้องมีความสามารถที่จะรู้สภาพและเหตุการณ์ทุกด้านตลอดเวลา เพื่อวาง position และดำเนินยุทธศาสตร์ของประเทศได้ถูกต้อง’
เราต้องสร้างผู้รักวิชาการที่ฉลาดและเห็นแก่ส่วนรวม วิจัยและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างวิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์ทั้งด้านบวกและลบอย่างใจกว้าง เพื่อให้ประชาชนรู้เท่าทันชนชั้นนำและผลักดันให้ผู้บริหารประเทศต้องใช้ ข้อมูลในการตัดสินใจที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างยั่งยืนมากกว่าเพื่อ ประโยชน์ส่วนตัวของชนชั้นนำ
10. สร้างระบบการสื่อสาร ที่ผสานการสร้างสรรค์ทั้งหมด ระบบการสื่อสารที่ดีสามารถสร้างจิตสำนึกใหม่ ส่งเสริมความตื่นตัวและรวมตัวสร้างสรรค์ประเทศทุกด้าน สร้างเป้าหมายและวิสัยทัศน์ร่วมของคนทั้งประเทศ’
ตัวปัญหาคือการสอนแบบท่องจำ และ กล่อมเกลาทางสังคมแบบอาวุโสนิยม อำนาจนิยม อุปถัมภ์นิยม อภิสิทธิชนนิยม ทางแก้ไขต้องปฏิรูปกันหลายด้านอย่างบูรณาการ ทั้งปฏิรูปวิธีการเลี้ยงดูเด็ก ปฏิรูปการศึกษา สื่อสารมวลชน ศิลปวัฒนธรรม ระบบบริหารราชการ รัฐวิสาหกิจ การปกครองท้องถิ่นฯลฯ ให้เด็กเยาวชน ประชาชนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและอย่างมีหลักฐานยืนยัน มากกว่าใช้อารมณ์ รู้จักรับฟังผู้อื่น เคารพสิทธิผู้อื่นอย่างเสมอภาคและเป็นประชาธิปไตย เลิกการยกย่องและการให้สิทธิพิเศษชนชั้นสูง ผู้มีอำนาจและมีฐานะสูง และให้ทุกคนตระหนักว่า การอภิปรายแลกเปลี่ยนอย่างวิเคราะห์อย่างมีเสรีภาพ โดยคนวิจารณ์ไม่ถูกคุมคาม คนที่ถูกวิจารณ์หรือถูกโต้แย้งไม่จำเป็นต้องรู้สึกว่าถูกดูหมิ่น จะช่วยให้ทั้งสังคมเกิดการเรียนรู้และภูมิปัญญารวมหมู่ ที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมากขึ้น
                                  สำเนาจากบทความปฎิรูปประเทศไทย….
                                  โดยฝ่าย ปชส.เครือข่ายฯชลบุรี

วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เวทีพัฒนาศักยภาพแกนนำเครือข่าย -กิจกรรมร่วมกันขับเคลื่อน ขยายผล อย่างมีส่วนร่วม ของเครือข่าย ฯจ.ชลบุรี

                   ประธานเครือข่ายฯจ.ชลบุรี  กล่าวต้อนรับ คุณวิทยา  คุณปลื้ม  นายก อบจ.ชลบุรี

                    เพื่อเปิดเวทีพัฒนาศักยภาพ แกนนำเครือข่าย ภาคประชาชน ป.ป.ช  ในครั้งนี้



                                 แกนนำ คณะกรรมการเครือข่ายฯ ที่เข้มเเข็งของเรา


     แกนนำเครือข่าย ที่เข้มเเข็ง ร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมอย่างมีส่วนร่วม

กิจกรรมเดือน พฤษภาคม 2554 องค์กรเครือข่ายภาคประชาชนป้องกันการทุจริต จ. ชลบุรี เพื่อการขับเคลื่อน อย่างมีประสิทธิภาพ และเติมเต็มด้านองค์ความรู้ โดยได้ร่วมมือขับเคลื่อนกิจกรรมของเครือข่าย อย่างต่อเนื่อง โดยร่วมมือ กับ อบจ.ชลบุรี โดยการสนับสนุนของ นาย วิทยา คุณปลื้ม  นายก อบจ.ชลบุรี  จัดเวทีพัฒนาศักยภาพ เสริมความรู้ และ พบปะพูดคุย เสวนา แลกเปลี่ยน  เรียนรู้ ประสบการณ์ การขับเคลื่อนขยายผลความรู้ร่วมกัน โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ คณะกรรมการ แกนนำ อาสาสมัครเครือข่ายฯตลอดจนภาคีสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ทั้งนี้เพื่อนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปขยายผลสู่ ภาคีเครือข่ายภาคประชาชนต่างๆ ตลอดจน การขยายผลสู่ประชาชน เพื่อการมีส่วนร่วม ต่อ ภาระกิจหน้าที่ ในการป้องกันการทุจริต ตลอดจน การพิทักษ์ดูแล สาธารณะสมบัติ ของแผ่นดิน ในทุกๆด้าน ตลอดจนการนำองค์ความรู้ด้านอื่นๆ ซึ่งแกนนำ อาสาสมัคร ได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนจากเวทีต่างๆ นำไปขยายผลต่อไป
                       "สังคมเป็นสุข  เราก็เป็นสุข"
- ฝ่าย ปชส.เครือข่ายฯ