วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ชาวแม่ทะ แห่แจ้งจับ คณะกก.กองทุนหมู่บ้าน บริหาร 8 ปี อุบเงียบ รายรับ- รายจ่าย


      อีกบทบาทของ  เครือข่ายภาคประชาชน

-ลำปาง - ชาวบ้านแม่ทะ เรียงแถวขึ้นโรงพักเข้าแจ้งความดำเนินคดีกรรมการกองทุนหมู่บ้าน หลังบริหารงาน 8 ปี ไม่เคยชี้แจงรายรับ - รายจ่าย บอกเคยร้องเรียนต่อ นอภ.และพัฒนาการอำเภอแล้ว แต่เรื่องยังเงียบ
       
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายสงัด อินทะนะ อยู่บ้านเลขที่ 29/3 หมู่ 4 ต.นากว้าว อ.แม่ทะ จ.ลำปาง ประธานกลุ่มธรรมาภิบาลบ้านนากว้าว(กิ่ว) พร้อมด้วยตัวแทนชาวบ้านอีก จำนวน 70 คน ได้เข้าแจ้งความต่อ ร.ต.ท.กฤตเมธ ทาคำ พนักงานสอบสวน สภ.แม่ทะ เพื่อให้ดำเนินคดีต่อนายเกวี๋ยน สายวงศ์ฟั่น ประธานกรรมการกองทุนหมู่บ้านนากว้าว พร้อมพวก จำนวน 13 คน โดยกล่าวหาว่า บริหารงานกองทุนฯโดยมิชอบ ขัดต่อระเบียบข้อบังคับที่กำหนดไว้
       ทั้งนี้ เนื่องจากตลอดระยะเวลาเกือบ 10 ปี คณะกรรมการฯชุดนี้ไม่เคยเรียกประชุมหรือชี้แจงสถานะทางการเงินของกองทุนฯให้สมาชิกได้รับทราบเลย แม้จะเคยทวงถามและเรียกร้องให้ประธานกรรมการและผู้เกี่ยวข้องเรียกประชุมชี้แจงสถานะทางการเงิน รายรับ-รายจ่าย การจ่ายเงินปันผล และอื่น ๆ มาหลายครั้ง แต่สมาชิกไม่เคยได้รับคำชี้แจงหรือคำตอบที่ชัดเจน
       นอกจากนี้ ตนได้เคยทำหนังสือถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งพัฒนาการอำเภอ และนายอำเภอแม่ทะ กระทั่งมีการแต่งตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงครั้งล่าสุดเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา กระทั่งขณะนี้ก็ไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการกองทุนฯ จะเข้าชี้แจงรายละเอียดสถานะการเงินให้คณะกรรมการที่อำเภอแต่งตั้งแต่อย่างใด
        จากการตรวจสอบบัญชีธนาคารที่กองทุนฯมีเงินฝาก นับแต่คณะกรรมการชุดที่มีนายเกวี๋ยน และพวกเข้าบริหาร ตั้งแต่ปี 2547 ปรากฏว่า มีเงินฝากอยู่ในบัญชี เป็นเงิน 1,500,000 บาท แต่พบรายการเบิกจ่าย และนำเข้า น่าสงสัย คือในปี 2549 เบิกจ่ายเงินปันผล จำนวน 54,000 บาท ปี 2550 เบิกจ่ายเงินปันผล จำนวน 59,671 บาท ปี 2551 เบิกจ่ายเงินปันผล จำนวน 47,212 บาท ปี 2552 เบิกจ่ายเงินปันผล จำนวน 51,000 บาท และปี 2554 เบิกไปใช้ดอกเบี้ยให้แก่สมาชิก จำนวน 30,000 บาท ทั้งๆที่สมาชิกไม่เคยได้รับเงินปันผลในปีที่ระบุแต่อย่างใด
       นอกจากนี้ ยังมีการนำดอกผลจากการบริหารเงิน กองทุนของคระกรรมการชุดนี้ ไปใช้จ่ายเงินไปเพื่อการต่าง ๆ หลายรายการ เช่น จ่ายเป็นเงินค่าตอบแทน เป็นทุนการศึกษา เป็นต้น ซึ่งเมื่อสมาชิกขอตรวจสอบและให้มาชี้แจง ก็ไม่สามารถชี้แจงได้จนถึงปัจจุบัน
       สมาชิกจึงได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ไว้ต่อพนักงานสอบสวน สภ.แม่ทะ โดยเบื้องต้นกล่าวหาว่า ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และจะดำเนินการตรวจสอบร้องเรียนไปยังสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี และผู้ตรวจการแผ่นดินฯ เพื่อให้ดำเนินการตามกฎหมายและเรียกเงินในส่วนที่ขาดหายไปกลับคืนสู่กองทุนหมู่บ้านบ้านนากว้าว หมู่ 4 อ.แม่ทะ จ.ลำปางต่อไป พร้อมทั้งเรียกร้องให้แสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออก
       นายสุรพันธุ์ ตรีมงคล นายอำเภอแม่ทะ กล่าวว่า ขณะนี้ได้แต่งตั้งคณะกรรมการทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐและตัวแทนชาวบ้าน สอบสวนข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวแล้ว ซึ่งก็น่าสงสัยว่าทำไม จึงไม่มีการเรียกประชุม ชี้แจงรายรับ-รายจ่าย และการทำบัญชีงบดุลเลย กลายเป็นข้อสงสัยของสมาชิก ถือเป็นเรื่องที่ดีที่ชาวบ้านตรวจสอบกันเอง เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นชุมชน
       อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นจำนวนเงินกองทุนที่เป็นเงินต้นยังคงอยู่ครบ คือจำนวน 1,500,000 บาท ถือว่ารัฐยังไม่เสียหาย แต่มีความบกพร่องในการบริหารงานของคณะกรรมการที่จะต้องโปร่งใส ตรวจสอบได้ และสามารถชี้แจงรายรับ-รายจ่าย ตอบข้อสงสัยของสมาชิกได้ ซึ่งตนจะให้โอกาสคณะกรรมการกองทุนฯทำบันทึกชี้แจงให้เสร็จภายในวันศุกร์ที่ 17 ก.พ. และหากทุกอย่างตกลงกันได้ ไม่มีความขัดแย้งต่อไป คณะกรรมการชุดนี้ควรจะแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออก
                                                                  กองเลขานุการ เครือข่าย ป.ป.ช ภาคประชาชน  จ.ชลบุรี

วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

กสทช.บีบค่ายมือถือกำหนดวันหมดอายุพรีเพดใหม่ใน 30 วัน



        กสทช. เผยหลังหารือค่ายมือถือ เร่ง 30 วันรู้ผลวันหมดอายุของการเติมเงินขั้นต่ำพรีเพดกี่วัน เตรียมปรับการจัดเก็บข้อมูลลูกค้าพรีเพดโดยเรียกเก็บเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลักแทน ส่วนบริการคงสิทธิ์เลขหมายค่ายมือถือจะเร่งขยายบริการให้มากขึ้น พร้อมยุบ 2 คณะอนุฯที่เสร็จภารกิจแล้ว
          พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมระหว่างบอร์ด กทค. กับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 5 ราย และตัวแทนผู้บริโภค วันนี้ (8 ก.พ.) ในประเด็นระยะเวลาหมดอายุของโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเติมเงิน (พรีเพด) การลงทะเบียนซิมการ์ด รวมถึงประเด็นการบริการคงสิทธิ์เลขหมาย (MNP : Mobile Number Portability)
          โดยที่ประชุมยังไม่ได้ข้อสรุปแต่มีแนวทางในการดำเนินการในช่วงรอความชัดเจนอีกครั้งโดย เบื้องต้นการปรับกฎเกณฑ์เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือ ทางกทค.จะให้ค่ายมือถือกลับไปจัดทำข้อมูลต้นทุนก่อนส่งกลับมายังกทค.อีก ครั้งภายใน 7 วัน เพื่อนำมาหารือร่วมกันอีกครั้ง
          ขณะ ที่่ในประเด็นการกำหนดวันหมดอายุพรีเพดนั้น ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนในที่ประชุม ซึ่งในระหว่างนี้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือพรีเพด ที่กำลังจะหมดอายุการใช้งานภายในสัปดาห์นี้ จะสามารถใช้งานต่อได้อีก 30 วันโดยอัตโนมัติก่อน
          เนื่องจากทาง กทค.จะต้องนำข้อมูลที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือส่งกลับมายังกทค.เพื่อ วิเคราะห์ และนำมาแก้ไขประกาศ เรื่องมาตรฐานสัญญาโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ในข้อ 11 การห้ามกำหนดระยะเวลาการใช้บริการโทรคมนาคมแบบบัตรเติมเงิน โดยทางกทค.จะต้องเร่งกำหนดวันเวลาหมดอายุให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน
           “ปัจจุบันผู้ใช้โทรศัพท์มือถือแบบบัตรเติมเงินในประเทศมีประมาณ 63.4 ล้านเลขหมาย จากยอดผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั้งหมด 70 ล้านเลขหมาย  นายทุนกินเงียบ  กสทช.  ทำอะไรอยู่ค่ะ
    
       สำหรับระยะเวลาวันหมดอายุของการเติมเงินขั้นต่ำของมือถือแบบเติมเงิน ในท้องตลาดตอนนี้ได้แก่ 30 บาทมีอายุอยู่ได้ 3 วัน 300 บาท อยู่ได้30วัน โดยมีตัวเลขเฉลี่ยการใช้งานโทรศัพท์มือถือแบบเติมเงินอยู่เดือนละ 200 บาท
    
       นอก จากนี้ในการจัดเก็บข้อมูลของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือแบบบัตรเติมเงิน (พรีเพด) นั้นกทค. มีแนวทางที่จำเป็นต้องปรับปรุงระบบการจัดเก็บข้อมูลใหม่ โดยการใช้วิธีการลงทะเบียนผ่านหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลักแทนการจัดเก็บเอกสาร ซึ่งถือว่าเพียงพอต่อการจัดเก็บข้อมูลเพื่อความมั่นคง
    
       ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบันการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้โทรศัพท์มือถือใน ระบบพรีเพดเป็นไปอย่างหละหลวม มีการใช้โทรศัพท์มือถือหลอกลวงประชาชน ใช้ก่ออาญชกรรม ซื้อขายยาเสพติด ซึ่งทั้งหมดไม่สามารถสืบหาต้นตอของเจ้าของโทรศัพท์มือถือได้
    
       ส่วนประเด็นการให้บริการคงสิทธิเลขหมายนั้น ทางผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง 5 ราย แจ้งต่อกทค.ว่าจะขยายบริการให้เพิ่มมากขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าที่ต้องการโอนย้ายบริการแต่เลขหมายคงเดิม แต่ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนแต่อย่างใด โดยคาดว่าจะมีการหารืออีกครั้งหนึ่งในเรื่องดังกล่าว
    
       อีกทั้งบอร์ด กทค.ยังการพิจารณายุติบทบาทของคณะอนุกรรมกรรม 2 ชุด คือ คณะอนุกรรมการเพื่อศึกษามาตรา 46 และคณะอนุกรรมการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและวางกรอบอัตรากำลังสำนักงานกสทช. เนื่องจากเสร็จสิ้นภารกิจแล้ว รวมถึงยังเป็นการช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของกสทช.ด้วย
        เงินผู้บริโภค   ค่ายมือถือ-กำหนดวันหมดอายุ เขาได้ไง???  กสทช.  กินเงินภาษี  แล้ว ช่วยผู้บริโภค บ้างเด้อ...ผู้บริโภค รออยู่ นะ...หรือ เราจะรอ ผนึกกำลังเครือข่าย ป.ป.ช ภาคประชาชน ทั่วประเทศช่วยไหวไหมเนี่ยะ...คือ ร่วมกันฟ้อง ศาลปกครองเลยดีไหม??? ค่ายมือถือ มากำหนดวันหมดอายุเราได้ไง...ยอมไหมผู้บริโภค???
                                                         เครือข่าย ป.ป.ช ภาคประชาชน จ.ชลบุรี รายงาน